Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28361
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อการยื่นแบบและแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านอินเทอร์เน็ต ในสานักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 18
Other Titles: Factors Affecting Filing Personal Income Tax Form via the Internet at Bangkok Revenue Office Region 18
Authors: ผจงศักดิ์ หมวดสง
Keywords: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
การยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต
Personal Income Tax Bangkok Revenue Office Region 18"
Issue Date: 2564
Abstract(TH): การศึกษาครั้งนี้มุ่งศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการยื่นแบบและแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านอินเทอร์เน็ต ในสานักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 18 โดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านรูปแบบของเว็บไซต์ ด้านค่าใช้จ่าย ด้าน กระบวนการยื่นภาษี และด้านการประชาสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ใช้บริการยื่นภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต ในสำนักงานสรรพากรในเขตสำนักงานสรรพากรเขตพื้นที่ 18 จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถาม (Questionnaire) ค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ คะแนนเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การ วิเคราะห์ความแตกต่างโดยใช้สถิติทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way Analysis of Variance) ในกรณีที่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจะใช้การทดสอบรายคู่โดยใช้วิธี LSD (Least Significant Difference) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ใช้บริการยื่นแบบและแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านอินเทอร์เน็ตที่มีเพศ อายุ สถานภาพสมรส ต่างกันมีผลต่อการเลือกใช้บริการยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านอินเทอร์เน็ต โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสาคัญทางสถิติ ผู้ใช้บริการยื่นแบบและแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่มีระดับการศึกษา ต่ำกว่าปริญญาตรีและสูงกว่าปริญญาตรีที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านอินเทอร์เน็ตมีระดับความคิดเห็น ต่อปัจจัยที่มีผลต่อการยื่นแบบและแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านอินเทอร์เน็ต โดยรวมและรายด้านแตกต่าง กันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นด้านค่าใช้จ่าย ผู้ที่มีระดับการศึกษาปริญญาตรีขึ้นไปให้ระดับคะแนนความคิดเห็นต่อการ ยื่นแบบและแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านอินเทอร์เน็ตสูงกว่าผู้ที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ผู้ใช้บริการยื่นแบบและแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่มีอาชีพต่างกันมีผลต่อผู้ใช้บริการยื่นแบบและแสดงรายการ เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านอินเทอร์เน็ตแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ ยกเว้นด้านค่าใช้จ่ายผู้ที่มีอาชีพต่างกันมีระดับ คะแนนความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีผลต่อการยื่นแบบและแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านอินเทอร์เน็ตแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยกลุ่มผู้ที่มีอาชีพข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจมีระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ ยื่นแบบและแสดงรายการเสียภาษีเงินบุคคลธรรมดาที่สูงกว่าผู้ที่มีอาชีพพนักงานบริษัทเอกชนและอาชีพข้าราชการ พนักงาน รัฐวิสาหกิจ พนักงานบริษัทเอกชน ค้าขาย ธุรกิจส่วนตัว แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2. ผู้ใช้บริการยื่นแบบและแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านอินเทอร์เน็ตให้คะแนนความคิดเห็นต่อ ปัจจัยที่มีผลต่อการยื่นแบบและแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านอินเทอร์เน็ตโดยรวมและรายด้านทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านรูปแบบเว็บไซต์ ด้านค่าใช้จ่าย ด้านกระบวนการการให้บริการ และด้านประชาสัมพันธ์ ในระดับมาก 3. ปัญหาและอุปสรรคที่พบคือความรู้ในวิธีการยื่นแบบและแสดงรายการเสียภาษีผ่านระบบอินเทอร์เน็ต กรมสรรพากรจึงควรประชาสัมพันธ์หรือให้ความรู้ในวิธีการยื่นแบบผ่านระบบอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น
Abstract: This research aimed to study factors affecting filing of personal income tax form via electronic filing (e-filing) system via the internet service in responsibility area of Bangkok Area Revenue Office 18 toward overall and following individual aspects: web form, expenditure, tax filing process and public relations (PR). The structured questionnaire was used as a data collection tool. The required data was gathered by questionnaire survey from 400 individual taxpayers filing personal income tax form via e-filing system by the at Bangkok Area Revenue Office 18. Statistics used for data analysis included frequency, percentage, mean and standard deviation. Statistical hypothesis testing for difference of two sets of data was analyzed by t-test. One-way Analysis of Variance (ANOVA) was also applied for analyzing the differences among groups and in case statistically significant difference was found, Least Significant Difference (LSD) was applied. Research findings indicated that: 1. Gender, age and marital status difference of taxpayers filing personal income tax form via efiling system was found at agreeable level of factors affecting filing of personal income tax form via e-filing system by the internet service toward overall and following individual aspects: web form, expenditure, tax filing process and public relations (PR) showing difference by no statistical significance. Difference in educational level of taxpayers was at agreeable level of factors affecting filing of personal income tax form via e-filing system showed no statistically significant difference. Meanwhile, the difference in education revealed factors affecting filing of personal income tax form via e-filing system toward expenditure aspect showed difference at statistical significance of 0.05 level. Different occupations of taxpayers showed factors affecting filing of personal income tax form via e-filing system by the internet service toward overall showed difference by no statistical significance. Meanwhile, occupation difference of taxpayers expressed different opinions on agreement level of factors affecting filing of personal income tax form via e-filing system by the internet service toward expenditure aspect at statistical significance of 0.05 level. The agreement level of factors affecting filing of personal income tax form via e-filing system by the internet service toward expenditure aspect of taxpayers being government officer / state enterprise employee was higher than the agreement level of the same factors of the other occupations (employee, freelance / business owner). 2. Factors affecting filing of personal income tax form via e-filing system by the internet service toward overall and following individual aspects: web form, expenditure, tax filing process and public relations (PR) were at high level of agreement. 3. Some taxpayers revealed their obstacles filling the online form via the internet. The tax office then should provide more workshops or information on steps of filing personal income tax form via efiling system.
Description: รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ SMARTS ครั้งที่ 10
URI: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28361
Appears in Collections:Bas-Conference paper

Files in This Item:
File SizeFormat 
Bas-Con-Phachongsak-M-smarts10-p20.pdf636.97 kBPDFView/Open


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.