Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/27861
Title: กลยุทธ์สู่ความสำเร็จของการท่องเที่ยวเชิงผจญภัยวังเวียงสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Other Titles: STRATEGIES TOWARD SUCCESS IN ADVENTURE TOURISM: VANGVIANG LAOS
Authors: บุษราคัม กลั่นน้้าทิพย์
ชุติกาญจน์ นาคนพคุณ
คมสิทธิ์ เกียนวัฒนา
Keywords: การท่องเที่ยวเชิงผจญภัย
วังเวียง (ลาว)
กลยุทธ์สู่ความสำเร็จ
Strategy for Success
Adventure Travel
Vang Vieng (Laos)
Issue Date: 2566
Publisher: คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Abstract(TH): งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอกลยุทธ์สู่ความสำเร็จของการท่องเที่ยวเชิงผจญภัย วังเวียง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดย มีเครื่องมือในการวิจัย คือ การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา โดยคัดเลือกแบบเจาะจง มีผู้ให้ข้อมูลหลัก ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงผจญภัย จำนวน 5 คน ได้แก่ ผู้นำเที่ยว ท้องถิ่น ตัวแทนผู้ประกอบการร้านค้า ตัวแทนผู้ประกอบการกิจกรรมซิปไลน์ และตัวแทนผู้ประกอบการบลูลากูน และนักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 5 คน ผลการวิจัย พบว่า ภาพรวมการนำเสนอกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงผจญภัย มีความสอดคล้องกับบริบทพื้นที่ โดยวิเคราะห์ตามองค์ประกอบการท่องเที่ยว 5A’s ดังนี้ สิ่งดึงดูดใจด้าน ทรัพยากรธรรมชาติมีความโดดเด่น เช่น ผาหนามไซและถ้้าจัง การนำเสนอกิจกรรมช่วยสร้างประสบการณ์ท่องเที่ยวที่แปลกใหม่ เช่น การพายเรือล่องแม่น้้าซองและการเล่นซิปไลน์ มีการจัดเตรียมที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ห้องน้้าสาธารณะและที่จอดรถ รวมทั้งรถสาธารณะและเรือไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว 2.วิเคราะห์ศักยภาพและความต้องการของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงผจญภัย วังเวียง ผลการวิจัย พบว่า กิจกรรมท่องเที่ยวสามารถตอบโจทย์และสร้างประสบการณ์ทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความสนุกสนานและความพึงพอใจในการทำกิจกรรมท่ามกลางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ หากแต่ช่องทางการติดต่อสอบถามข้อมูลท่องเที่ยวยังมีน้อย และนักท่องเที่ยวต่างชาติคาดหวังช่องทางการชำระเงินที่มีความหลากหลาย สำหรับกลยุทธ์ 4E1S ประกอบด้วย ประสบการณ์ (Experience) ช่องทาง (Everywhere) ความพึงพอใจ (Evangelism) การแลกเปลี่ยน(Exchange) และความปลอดภัย (Safety come first) จะช่วยส่งเสริมให้กิจกรรมท่องเที่ยวมีประสิทธิภาพและนำไปสู่ความสำเร็จของการท่องเที่ยวเชิงผจญภัย วังเวียง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Abstract: The purposes of this study were: To propose strategies that will lead to the success of adventure tourism. This study was conducted with qualitative methodology. Research tools are semi-structured interview and content analysis. Key informants consisting of stakeholder on adventure tourism in Vang Vieng. including 5 peoples such as local tour guide, entrepreneurs, representative of the restaurant, representative of operators (Zipline), and representative of operators (Blue Lagoon) and 5 Thai tourists. The results of this study revealed that the overall presentation of adventure tourism activities is consistent with the local context It was analyzed according to the 5A's tourism components as follows: Prominent natural resource attractions such as Pha Nam Sai and Tham Chang. The introduction of activities that helped create unique travel experiences such as boating along the Song River and Zipline. Arrangement of accommodations and amenities such as public toilet, parking, public transportation and boats to serve tourists. 2. Analyze the potential and needs of tourists towards adventure tourism in Vang Vieng. The results of the research found that activities could create experiences and meet the needs of tourists to have fun and satisfaction in doing activities in the midst of abundant nature. But there are only few channels to contact for tourist information. Foreign tourists expect a variety of payment channels. The 4E1S strategy consisting of Experience, Everywhere, Evangelism, Exchange, and Safety come first will help promote efficient tourism activities and lead to The Success of Adventure Tourism, Vang Vieng, Lao People's Democratic Republic
URI: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/27861
Appears in Collections:Ece - Conference paper

Files in This Item:
File SizeFormat 
Ece-Busarakhum-K-2566.pdf564.44 kBPDFView/Open


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.