Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/27845
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาพฤติกรรมสารสนเทศด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ |
Advisor : | ศศิพิมล ประพินพงศกร |
ผู้แต่ง: | ต่อลาภ ฐิติเจริญศักดิ์ ปัญญาวีย์ พิพ่วนนอก รัฐนาท วิมุกตะลพ ณัฐทิชา บัวพูล นนทภัท สุวรรณเวช นันทรัตน์ เนียมแย้ม ลักษิกา ฤษธิ์เต็ม สุฑีลักษณ์ ฟักแก้ว |
Keywords: | สารสนเทศ ผู้สูงอายุ สุขภาพ พฤติกรรมสารสนเทศ การรู้สารสนเทศสุขภาพ |
วันที่เผยแพร่: | 2565 |
Abstract(TH): | การศึกษาเรื่อง พฤติกรรมสารสนเทศด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการรู้สารสนเทศด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ ความต้องการ การแสวงหา และปัญหาด้านสารสนเทศสุขภาพของผู้สูงอายุ โดยงานวิจัยฉบับนี้ได้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research Method) ในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์กับกลุ่มผู้สูงอายุ อายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลวิจัยได้แก่ แบบทดสอบ โดยเก็บข้อมูล 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลภูมิหลังของกลุ่มตัวอย่าง ส่วนที่ 2 การศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้สารสนเทศด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ ส่วนที่ 3 การทำแบบประเมินการรู้สารสนเทศสุขภาพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนพฤติกรรม แบ่งเป็น 3 ด้านได้แก่ พฤติกรรมการใช้สารสนเทศด้านสุขภาพ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีความต้องการสารสนเทศด้านสุขภาพมัลติมีเดียที่เป็นสื่อวิดีโอและรูปภาพ เนื่องจากผู้สูงอายุบางท่านมีปัญหาทางด้านการอ่านเนื่องจากอายุที่มากขึ้น ด้านการแสวงสารสนเทศด้านสุขภาพ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะมีการค้นหาข้อมูลด้านสุขภาพได้ด้วยตนเอง ผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟน และโทรทัศน์ เนื่องจากแอปพลิเคชันใช้งานได้ง่าย สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพกับคนอื่น ๆ ได้ ด้านการใช้สารสนเทศด้านสุขภาพ ผลวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุมีการประเมินสารสนเทศ โดยประเมินค้นหาผ่านทางเว็บไซต์เพื่อตรวจสอบซ้ำหรืออาจสอบถามจากคนรอบข้าง ครอบครัว ลูกหลาน บุคคลใกล้ชิดเพื่อเปรียบเทียบความน่าเชื่อถือของข้อมูลสุขภาพที่ได้มาว่ามีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใดก่อนปฏิบัติจริง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ส่วนพฤติกรรมได้แก่ การใช้การหาค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย วิเคราะห์ระดับการรู้สารสนเทศสุขภาพ แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูล โดยนำคะแนน ของกลุ่มตัวอย่างมาคำนวณหาระดับการรู้สารสนเทศสุขภาพจากผลคะแนนทั้งหมดในแต่ละด้าน คิดเป็นค่าร้อยละของการรู้สารสนเทศสุขภาพ การทำแบบประเมินสารสนเทศสุขภาพ จัดทำโดยแบบประเมินแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ แบ่งเป็น 1. ด้านการเข้าถึงสารสนเทศสุขภาพ จำนวน 10 ข้อ 2. ด้านการประเมินสารสนเทศสุขภาพ จำนวน 12 ข้อ 3. ด้านการใช้สารสนเทศสุขภาพ จำนวน 8 ข้อ ผลการวิจัยพบว่าผู้สูงอายุมีระดับการรู้สารสนเทศสุขภาพ โดยรวมอยู่ในระดับต่ำ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการใช้สารสนเทศสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง ด้านการเข้าถึงสารสนเทศสุขภาพ ด้านการประเมินสารสนเทศสุขภาพอยู่ในระดับต่ำ โดยพฤติกรรมการใช้สารสนเทศของผู้สูงอายุมีการใช้สื่อรูปภาพและวิดีโอเพื่อความเข้าใจง่าย มีการใช้โทรศัพท์มือถือและโทรทัศน์ในการทราบข้อมูลสารสนเทศสุขภาพ |
URI: | https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/27845 |
Appears in Collections: | IS-Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
IS-report-health-lit-2565.pdf | Report | 329.84 kB | View/Open | |
IS-poster-health-lit-2565.pdf | Poster | 1.42 MB | View/Open |
Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.