Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/27834
Title: บทเพลงสำหรับเด็ก (โดโย) ของโอะงะวะ มิเมะอิ
Other Titles: Ogawa Mimei’s Songs for Children (DOYO)
Authors: สึโบะอิ ซาคาเอะ
นันท์ชญา มหาขันธ์
Keywords: วรรณกรรมสำหรับเด็ก
โดโย
โอะงะวะ มิเมะอิ
เพลงสำหรับเด็ก
DOYO
Ogawa Mimei
Children Literature
Issue Date: 2561
Abstract(TH): โอะงะวะ มิเมะอิ (小川未明1882-1961) เป็นนักเขียนวรรณกรรมสำหรับเด็กที่ได้สร้างสรรค์ผลงานมากมาย แม้ว่าช่วงชีวิตของเขาต้องเผชิญกับภาวะอดอยากและความเหลื่อมล้ำทางสังคม และการสูญเสียบุตรถึงสองคนตั้งแต่ยังเล็ก แต่เขายังมุ่งมั่นเขียนหนังสือ “ที่เหมาะสำหรับเด็กอย่างแท้จริง” ซึ่งมีความไพเราะอ่อนโยน แฝงความหมายลึกซึ้ง และมีความสำคัญต่อวงการวรรณกรรมสำหรับเด็กจนถึงปัจจุบัน ผลงานบางส่วนของเขามีเนื้อหาตีแผ่ความเป็นจริงของความยากไร้และสงคราม แต่บรรยายอย่างมีวรรณศิลป์ นอกจากวรรณกรรมประเภทเรื่องสั้น กวีนิพนธ์แล้ว เขายังได้แต่งบทเพลงสำหรับเด็กหรือที่เรียกว่า “โดโย”(童謡) ด้วย บทวิจัยนี้เป็นการศึกษางานประพันธ์ประเภท“โดโย”ที่โอะงะวะ มิเมะอิแต่งไว้ 21 ชิ้น จากหนังสือรวมผลงานสำหรับเด็กของโอะงะวะ มิเมะอิเล่ม 3 (定本小川未明童話全集3、1977) พบว่าผลงานของเขาเรียบเรียงด้วยถ้อยคำที่งดงามแต่แฝงความโศกเศร้า สะท้อนแนวคิดที่นักเขียนได้รับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองสมัยไทโช-โชวะ เกี่ยวกับความรักของครอบครัว ความรู้สึกโหยหาบ้านเกิด และความยากจนและทุกข์ของผู้คน มีการใช้สีสันที่สื่อถึงความรู้สึกและสภาพชีวิตที่ต้องต่อสู้กับอุปสรรค
Abstract: Ogawa Mimei (1882-1961) was an author of children's literature who created a lot of literary works. During a hard time of war, he lost 2 of his children when they were very little. He was driven to write the stories that “absolutely for children”. His stories are beautiful, warm-hearted and concealed the deep meanings. They are important to the Children Literature field till present time. Some of his works claimed to Anti-war sentiment, but were written with poetic composition. Not only short story and novel, He also wrote many songs for children, called “DOYO”. This paper is the study of Ogawa Mimei’s 21 songs for children appeared in “Teihon Ogawa Mimei Douwa Zenshuu 3, 1977”. It was found that his writing were created with beautiful words, but full of sorrow. They represented the ideas of loving the family, thinking of a hometown, and the poverty and sadness of people. He use the colors in his songs to appeal the meaning of living. These ideas appeared because the writer was affected by the changing society in Taisho-Showa period.
URI: https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jsn/article/view/158662/118685
https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/27834
Appears in Collections:Ori-Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.