Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/27789
Title: การศึกษาแบบจำลองการประมาณค่าอินทรียวัตถุ : กรณีศึกษาการเพาะปลูกยางพารา
Other Titles: A study on modeling to estimate organic matter : A case study of rubber tree plantation
Advisor : อัญชลี สุวรรณมณี
Authors: ฟาติมา ซึมเมฆ
อรกานต์ ชวนนิยมตระกูล
Keywords: อินทรียวัตถุ
ยางพารา
Issue Date: 2556
Publisher: ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Abstract(TH): โครงงานวิศวกรรมเคมีนี้มีวัตถุประสงค์ข้อแรก เพื่อศึกษาและประเมินผลจากแบบจำลองการเปลี่ยนแปลงปริมาณอินทรียวัตถุใต้ดิน (ดิน) และเหนือพื้นดิน (ต้นยางพารา) กรณีการเพาะปลูกยางพารา ระยะเวลา 25 ปี โดยใช้เทคนิคการถดถอยในการวิเคราะห์ข้อมูลการทดลอง ผลการศึกษาพบว่า แบบจำลองการเปลี่ยนแปลงปริมาณอินทรีวัตถุ ขึ้นอยู่กับค่าคงที่ปัจจัย 4 ด้าน คือ ค่าคงที่ของอินทรียวัตถุ ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และการจัดการดิน โดยแบบจำลองการเปลี่ยนแปลงปริมาณอินทรียวัตถุใต้ดิน กรณีไม่กรีดยางพารา เป็นสมการจลนพลศาสตร์แบบปฏิกิริยาอันดับหนึ่ง มีค่าคงที่ของดิน (k0,soil,non-tapping) เท่ากับ 0.0067 ปี-2องศาเซลเซียส-1 แบบจำลองการเปลี่ยนแปลงปริมาณอินทรียวัตถุใต้ดิน กรณีกรีดยางพารา ช่วงก่อนกรีด (0 ถึง 6 ปี) และหลังกรีด (7 ปี ขึ้นไป) เป็นสมการจลนพลศาสตร์แบบปฏิกิริยาอันดับหนึ่งและศูนย์ มีค่าคงที่ของดิน (k0,soil,tapping) เท่ากับ 0.0067 ปี-2องศาเซลเซียส-1 และ 0.172 ตันต่อเฮกเตอร์ ปี-2∙องศาเซลเซียส-1ตามลำดับ แบบจำลองการเปลี่ยนแปลงปริมาณอินทรียวัตถุในต้นยางพารา เป็นสมการจลนพลศาสตร์แบบปฏิกิริยาอันดับศูนย์ ซึ่งมีค่าคงที่การเจริญเติบโตของต้นยางพารา (k0,plant) เท่ากับ 0.8209 ตันต่อเฮกเตอร์∙ปี-2∙องศาเซลเซียส-1และมีวัตถุประสงค์ข้อที่สอง เพื่อประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านภาวะโลกร้อน (GWP) ด้วยวิธี IPCC (2007) และประเมินมูลค่าเชิงเศรษฐกิจด้วยระบบคาร์บอนเครดิต หน่วยศึกษาคือ สวนยางพาราอายุ 25 ปี ในพื้นที่ 1 เฮกเตอร์ ผลการศึกษาพบว่า ค่าผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านภาวะโลกร้อนสุทธิ กรณีไม่กรีดและกรณีกรีดยางพารามีค่าเท่ากับ -2,189 และ -521 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ตามลาดับ และค่าคาร์บอนเครดิตของสวนยางพารา กรณีไม่กรีดและกรณีกรีดยางพารา มีค่าเท่ากับ 81,550 และ 20,378 บาท ตามลำดับ
Abstract: The first aim of this chemical engineering project was to study and evaluate the kinetics of organic matter (OM) models underground (soil) and aboveground (rubber tree) for rubber trees plantation over a 25-years period. A non-linear regression technique was used to analyze the experimental data. The results showed that the kinetics of OM were based on four (4) parameters including OM rate constant, climate conditions, geography and cultivation factors. The kinetic model of soil OM with no tapping was based on first order reaction with rate of 0.0067 y-2 ๐C-1. The kinetic models of soil OM with before (0-6 years) and after tapping (after 7 years) were first and zero reactions with rate of 0.0067 y-2 ๐C-1 and 0.172 ton/ha y2 ๐C respectively. The kinetic model of rubber tree plantation was zero order reaction with rate of 0.8209 ton/ha y2 ๐C. The second aim of this study was to assess global warming potential (GWP) impact according to IPCC (2007) and economic value based on carbon credit analysis. The function unit (FU) was specified as 1 hectare with 25-years life of rubber tree plantation. The results showed that total GWP impact of no and after tapping cases were -2,189 and -521 ton CO2-eq respectively. The carbon credits of no and after tapping cases were 81,550 and 20,378 Baht respectively
URI: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/27789
Appears in Collections:CheEng-Bachelor's Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Eng_Fatima_S.pdf
  Restricted Access
1.13 MBPDFView/Open Request a copy


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.