Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/25171
Title: อัตลักษณ์นิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ: การศึกษาเชิงเปรียบเทียบระหว่างนิสิตที่ศึกษาในกลุ่มสาขาวิชาต่างกัน
Other Titles: THE STUDENT’S IDENTITIES OF SRINAKHARINWIROT UNIVERSITY: THE COMPARATIVE STUDY AMONG STUDENTS IN DIFFERENT GROUP OF MAJORS
Authors: จิตต์ภิญญา ชุมสาย ณ อยุธยา
Keywords: Comparative study
Different group of Majors
Srinakharinwirot University student identities
อัตลักษณ์
การศึกษาเปรียบเทียบ
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Issue Date: 2556
Abstract(TH): งานวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ศึกษาเปรียบเทียบอัตลักษณ์นิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 9 ด้าน ได้แก่ ใฝ่รู้ตลอดชีวิต คิดเป็นทำเป็น หนักเอาเบาสู้ รู้กาลเทศะ เปี่ยมจิตสำนึกสาธารณะ มีทักษะสื่อสาร อ่อนน้อมถ่อมตน งามด้วยบุคลิก พร้อมด้วยศาสตร์และศิลป์ ของนิสิตชั้นปีที่ 1 ที่ศึกษาในกลุ่มสาขาวิชาต่างกัน ประชากรในการศึกษาเป็นนิสิตชั้นปีที่ 1 ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการศึกษาทั่วไปเพื่อพัฒนามนุษย์ (มศว 151) ในปีการศึกษา 2553 เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบประเมินอัตลักษณ์นิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ลักษณะเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.94 โดยทำการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนิสิตที่เข้าสอบปลายภาควิชาการศึกษาทั่วไปเพื่อพัฒนามนุษย์ (มศว 151) จำนวนรวม 3,649 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการศึกษาพบว่า 1. นิสิตชั้นปีที่ 1 มีอัตลักษณ์นิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีอัตลักษณ์ 8 ด้าน ในระดับสูงเรียงตามลำดับ ดังนี้ พร้อมด้วยศาสตร์และศิลป์ อ่อนน้อมถ่อมตน รู้กาลเทศะ งามด้วยบุคลิก หนักเอาเบาสู้ คิดเป็นทำเป็น เปี่ยมจิตสำนึกสาธารณะ มีทักษะสื่อสาร และใฝ่รู้ตลอดชีวิต ในระดับปานกลาง 2. การเปรียบเทียบอัตลักษณ์นิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒของนิสิตชั้นปีที่ 1 ระหว่างนิสิตที่ศึกษาในกลุ่มสาขาวิชาต่างกัน พบว่า 2.1 นิสิตที่เรียนในกลุ่มสาขาวิชาแตกต่างกันมีอัตลักษณ์นิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒทั้งรายด้านและรวมทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2.2 ค่าเฉลี่ยอัตลักษณ์นิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒจำแนกตามกลุ่มสาขาวิชาเรียงตามลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ วิทยาศาสตร์สุขภาพ สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2.3 การเปรียบเทียบความแตกต่างของอัตลักษณ์นิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒของนิสิตที่ศึกษาในกลุ่มสาขาวิชาต่างกันเป็นรายคู่ พบว่า นิสิตที่ศึกษาในกลุ่มสาขาวิชาแตกต่างกันมีอัตลักษณ์นิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒแตกต่างกัน ดังนี้ 2.3.1 กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพมีอัตลักษณ์นิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒแตกต่างจากกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทุกด้าน และแตกต่างจากกลุ่มสาขาวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จำนวน 6 ด้าน ได้แก่ คิดเป็นทำเป็น หนักเอาเบาสู้ เปี่ยมจิตสำนึกสาธารณะ มีทักษะสื่อสาร อ่อนน้อมถ่อมตน และงามด้วยบุคลิก 2.3.2 กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีอัตลักษณ์นิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒแตกต่างจากกลุ่มสาขาวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จำนวน 7 ด้าน ได้แก่ ใฝ่รู้ตลอดชีวิต รู้กาลเทศะ เปี่ยมจิตสำนึกสาธารณะ มีทักษะสื่อสาร อ่อนน้อมถ่อมตน งามด้วยบุคลิก และพร้อมด้วยศาสตร์และศิลป์
Abstract: Purpose of this research was to compare the student’s identities of Srinakharinwirot University which were composed of 9 aspects namely lifelong learning, awareness and use to analyze and summarize, diligence, good manners, public-mindedness, communication skills, humility, good personalities, and arts and sciences appreciation of the first-year undergraduate students in different group of majors. The population was the first-year undergraduate students in the subject class of General Education for Human Development (SWU 151) in the academic year 2010. The tools for collecting data were the Srinakharinwirot University student’s identities self-assessment questionnaires, Likert type five-point rating scales consisting of 50 items with alpha reliability co-efficient of 0.94. The researcher collected data from the sample groups, 3,649 students in the subject class of General Education for Human Development (SWU 151) which stayed on the final examination day. The statistical tools used for the data analysis were frequency percentage, arithmetic means, standard deviation, t-test, one-way analysis variance, and Scheffe’s test. The results of this study were as follows: 1. The freshmen at Srinakharinwirot University had high levels of identities in overall aspects. Considering each aspect individually, it was discovered that they had high levels in 8 dimensions which the highest levels of arts and sciences appreciation followed by humility, good manners, good personalities, diligence, awareness and use to analyze and summarize, public-mindedness, good communication skills respectively and medium levels in lifelong learning. 2. The comparative study among the freshmen who had different demographic found that: 2.1 The freshmen from different group of majors had statistically significant differences in overall aspect and every single aspect. 2.2 The means of the student’s identities of Srinakharinwirot University divided by different group of majors showed: the Health Sciences students had the highest mean of identity assessment followed by the Social Sciences and Humanities students, and the Sciences and Technology students respectively. 2.3 Differences of the student’s identities of Srinakharinwirot University between different groups of majors by pairwise comparison as follows: 2.3.1 The Health Sciences students and the Sciences and Technology students had statistically significant differences in all aspects, while the Health Sciences students and the Social Sciences and Humanities students had statistically significant differences in 6 aspects, namely awareness and use to analyze and summarize, diligence, public-mindedness, good communication skills, humility, and good personalities. 2.3.2 The Sciences and Technology students and the Social Sciences and Humanities students had statistically significant differences in 7 aspects, namely lifelong learning, good manners, public-mindedness, good communication skills, humility, good personalities, and arts and sciences appreciation.
URI: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/25171
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/32206
Appears in Collections:Ilc - Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.