Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/25156
ชื่อเรื่อง: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การศึกษาและพัฒนาเครื่องประดับโบนไซน่าเซรามิก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A study and Development of Bone China Jewelry
ผู้แต่ง: ธนกฤต ใจสุดา
รัศมน ทองงามขำ
Keywords: เครื่องประดับ
โบนไซน่าเซรามิก
วัสดุทดแทน
การออกแบบเครื่องประดับ
การออกแบบ
การออกแบบเชิงพาณิชย์
Commercial design
Ceramic jewelry
Alternative material
Bone china ceramic
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Abstract(TH): งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและทดสอบดินโบนไซน่าเซรามิก เชื่อมโยงสู่แนวทางการออกแบบและพัฒนาเป็นเครื่องประดับ พร้อมทั้งบูรณาการงานวิจัยกับการจัดการเรียนการสอนด้านการออกแบบเครื่องประดับ การดำเนินงานวิจจัยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ การศึกษาทดสอบวัสดุดินโบนไซน่าเซรามิกทั้งแบบแท้และแบบเทียม การศึกษาแนวทางการออกแบบเพื่อพัฒนาไปสู่เครื่องประดับ และการบูรณาการร่วมกับการจัดการเรียนการสอน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ร่วมกับข้อมูลเชิงปริมาณ ผลที่ได้จากการวิจัยพบว่า โบนไซน่าเซรามิกแบบแท้และแบบเทียม มีองค์ประกอบทางเคมีที่เหมือนกันคือ โพรแทกติเนียม เพนตะออกไซด์ (Pa2O5) และ แคลเซียมออกไซด์ (CaO) คุณสมบัติทางกายภาพมีคุณสมบัติแตกต่างกันเล็กน้อย ส่วนแนวทางในการออกแบบเพื่อการพาณิชย์นั้น มีความเป็นไปได้ที่จะนำโบนไซน่าเซรามิกมาเป็นวัสดุประกอบในงานเครื่องประดับ การนำโบนไซน่าเซรามิกมาผลิตเป็นเครื่องประดับเชิงพาณิชย์จะต้องคำนึงถึงเรื่องของคุณสมบัติของวัสดุ ขนาด และน้ำหนักเป็นสำคัญ การหล่อและการกดพิมพ์เป็นกระบวนการที่เหมาะสมในการผลิต ในส่วนของการออกแบบใช้หลักการออกแบบแบบมีเงื่อนไข (Design Criteria) ร่วมกับกระแสการออกแบบผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมสร้างสรรค์ ปี 2563 (Sacict Craft Trend 2020) แนวคิดที่เหมาะสม คือ แนวคิดการออกแบบสำหรับคนกลุ่ม Serenergy ภายใต้แนวคิดที่ตระหนักในคุณค่าแท้ (True Value) โดยผู้วิจัยได้แสดงออกมาในลักษณะของการนำเสนอวัสดุทั่วไปที่ไม่มีค่าเทียบเท่าอัญมณีมาเป็นส่วนสำคัญของงาน เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าจากความงามของวัสดุ การออกแบบที่เรียบง่าย และคุณค่าจากการยอมรับว่าเครื่องประดับเป็นเพียงสิ่งของสวมใส่ ทุกสิ่งล้วนมาจากธรรมชาติ ทำการออกแบบสำหรับกลุ่มผู้บริโภคเครื่องประดับเพศหญิง อายุระหว่าง 36-50 ปี ในรูปแบบเครื่องประดับร่วมสมัย กลุ่มเครื่องประดับแฟชั่น ผลการประเมินต้นแบบ พบว่า แบร่างที่ผ่านการคัดเลือกคือ แบบร่างที่ 2 โดยมีคะแนนเฉลี่ย 4.58 การประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ผลจากงานวิจัยนำไปสู่การบูรณาการจัดการเรียนการสอนให้แก่นิสิตในสาขาวิชาการอออกแบบทัศนศิลป์ เอกออกแบบเครื่องประดับ ในรายวิชา VSD 202 Design Innovation From Thai Wisdom (นวัตกรรมการออกแบบจากภูมิปัญญาไทย) ในรูปแบบการเรียนรู้ผ่านกระบวนการปฏิบัติ (Active Learning) ผลของการจัดการเรียนการสอนทำให้ เกิดผลงานสร้างจำนวน 15 ผลงาน นิสิตมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอน อยู่ในระดับพึงพอใจมาก โดยมีคะแนนประเมินเฉลี่ย 4.30 ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า โบนไซน่าเซรามิก เป็นวัสดุประเภทเซรามิกชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติโดดเด่น สามารถนำมาเป็นวัสดุทดแทนในงานเครื่องประดับ ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีเอกลักษณ์และสร้างมูลค่าเพิ่มในเชิงพาณิชย์ได้
บทคัดย่อ: China Ceramic in making jewelry, it was important to consider material properties, dimensions and weight. Casting and pressing were suitable processes for production. In the design, design criteria principle along with the Sacict Craft Trend 2020 were used. The appropriate concept was design concept for Serenergy group under the concept that appreciated true value. The researcher showed it in a way of presenting non-valuable objectives comparing with gems as the main part of the research in order to reflect the beauty value of materials, simple design and the value from accepting the fact that jewelry was just a thing to wear. Everything was from nature. The design was for the female jewelry consumer group between 36-50 years in a form of contemporary jewelry in fashion jewelry group. From the sketch design assessment, it was found that the sketch design that passed the selection was the sketch design NO.2 it having the average score of 4.58 and the suitability assessment was at a highest level. The results of this research led to an integrated teaching and learning management for students in bachelor of Fine and Applied Arts Program in Visual Design Major jewelry design in the course VSD 202 Design Innovation from Thai Wisdom organized a learning model through a practice process learning through practice (Active Learning). As a result of the teaching and learning management, there are 15 sets of results. The students were satisfied with the teaching and learning arrangements. it having the average score was 4.30 and the satisfaction rating was at a high level. The research results show that Bone china is a type of ceramic material with outstanding properties. Can be used as an alternative material in jewelry work causing new and unique products that can create added commercial value.
รายละเอียด: ได้รับทุนสนับสนุนงานจาก ทุนสนับสนุนการวิจัยเงินรายได้คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประจำปี 2562
URI: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/25156
Appears in Collections:VD-Research Report

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
VD_Thanakit J_Res_2562.pdf14.77 MBPDFView/Open


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.