Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/25105
ชื่อเรื่อง: | การเลือกหลักยึดสำหรับสะพานฟันที่รองรับด้วยรากฟันเทียมสำหรับการบูรณะฟันกราม |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Abutment selection in implant-supported bridge for molars restoration |
Advisor : | ชไมพร สุขแจ่มศรี |
ผู้แต่ง: | ณิชาพัชร์ รัตนพันธ์ |
Keywords: | รากฟันเทียม การวิเคราะห์ไฟไนต์เอเลเมนต์ |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ |
Abstract(TH): | การสูญเสียฟันที่เกิดจากปัญหาสุขภาพหลายอย่าง เช่น ฟันผุที่รักษาไม่หาย โรคปริทันต์ และอุบัติเหตุ ส่งผลกระทบต่อประชากรโลกเกือบ 10% จึงมีความต้องการนำฟันเทียมเข้ามาใส่แทนที่ ทำให้รากฟันเทียมเป็นทางเลือกที่นำมาใช้ในการบูรณะ ฟื้นฟูช่องปากในผู้ป่วยที่ฟันหายไป ในกรณีที่การสูญเสียฟันมากกว่าหนึ่งซี่ กระดูกมีพื้นที่จำกัดและคุณภาพไม่เพียงพอที่จะรองรับการฝังรากเทียมแบบซี่เดียวได้ การบูรณะรากฟันเทียมแบบสะพานฟันจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษา ซึ่งการบูรณะฟันด้วยรากฟันเทียมอาจมีภาวะแทรกซ้อนทางกล เช่น การคลายตัวของสกรู การแตกหักของสกรู และการแตกหักของตัวคํ้ายัน (Abutment) ที่เป็นผลมาจากหลายปัจจัยรวมไปถึงการเลือกใช้ชนิดของหลักคํ้ายัน (Abutment) งานวิจัยนี้จึงต้องการศึกษาการกระจายความเค้นในส่วนประกอบของรากฟันเทียมและวิเคราะห์การคลายเกลียวของสกรูจากการเลือกใช้ชนิดของหลักคํ้ายัน (Abutment) ต่างชนิดกันได้แก่ หลักคํ้ายันชนิด Hex abutment, Non Hex abutment และ SCRP Abutment โดยการบูรณะรากเทียมแบบสะพานฟัน ฝังรากเทียมในทิศทางที่ไม่ขนาดกันและเลือกใช้ชนิดของหลักคํ้ายันต่างชนิดกัน ด้วยการสร้างแบบจำลองทาง FEA เพื่อจำลองสถานการณ์ทางคลินิกโดยการจำลองภาวะบดเคี้ยวของฟันกรามด้านล่างขวาและสบกับฟันบนด้วยแรงขนาด 220 นิวตัน ผลการทดสอบพบว่าการทำมุมของรากฟันเทียมมีผลต่อการกระจายความเค้นบน Abutment แต่การเลือกใช้ชนิดของ Abutment ไม่มีความแตกต่างเนื่องจากภายในกลุ่มการทดลองที่มีการเลือกใช้ Abutment ต่างชนิดกัน พบว่ามีค่าการกระจายตัวของความเค้นที่ใกล้เคียงกัน แต่การคลายเกลียวของสกรูจะมีลักษณะต่างกันแต่ละกลุ่มการทดลอง ซึ่งโดยการเลือกใช้ Abutment แบบ Non Hex +Non Hex abutment มีระยะการคลายเกลียวน้อยที่สุด |
บทคัดย่อ: | Tooth loss is caused by a range of health problems, such as incurable cavities, periodontal disease, and accidents. Affects almost 10% of the world's population, therefore, there is a need for dentures to replace them. This makes dental implants an alternative to be used in restoration. Oral rehabilitation in patients with missing teeth in case of loss of more than one tooth, the bone space is limited and of insufficient quality to support a single tooth implant. Bridge implant restoration is another treatment option. Implant restorations may have mechanical complications such as screw loosening, screw and abutment fractures result from several factors including the choice of abutment type. This research aims to study the stress distribution in the implant components and analyze the screw loosening from the selection of different types of abutment namely Abutment type Hex abutment, Non-Hex abutment, and SCRP Abutment by implant-supported bridge restoration and Place the implant in the direction that the implant is non-parallel, and the selection of different types of the abutment was used by FEA modeling to simulate the clinical situation by simulating occlusion of chewing force of the lower right molar teeth and the upper incisor with a force of 220 N. The results showed that the angle of the implant affected the stress distribution on the abutment, but the choice of abutment type was not different because, within the experimental group where different abutments were selected, the stress distribution values were similar. But the unscrewing of the screws will have different characteristics for each experimental group, which by choosing Non-Hex+Non Hex abutment with the least unscrewing distance. |
URI: | https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/25105 |
Appears in Collections: | BioEng-Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Eng_Nichapat_R.pdf Restricted Access | 28.47 MB | View/Open Request a copy |
Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.