Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/25102
Title: | การออกแบบและพัฒนาห้องความดันลบต้นแบบสำหรับการแยกผู้ป่วย |
Other Titles: | Design and development of a prototype negative pressure room for patient isolation |
Advisor : | วงศ์วิทย์ เสนะวงศ์ |
Authors: | ปิยภัทร ดวงพัตรา ณัฐริกา ประทุมสุข |
Keywords: | ห้องความดันลบ ผู้ป่วยโรคโควิด-19 |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ |
Abstract(TH): | จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรคครั้งใหญ่ในปัจจุบันโดยเชื้อไวรัส COVID-19 ทำให้มีผลกระทบต่อประชากรทั่วโลก เชื้อไวรัส COVID-19 สามารถติดต่อกันได้อย่างง่ายดายและรวดเร็วผ่านทางละอองฝอยในอากาศที่มาจากผู้ติดเชื้อไวรัส C0VID-19 โดยอาการของเชื้อ COVID-19 จะมีอาการคล้ายกับไข้หวัดใหญ่หรืออาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ปัญหาคือการที่ไม่สามารถจัดการกับบุคคลที่มีความเสี่ยงได้ เว็บไซต์สแตนดาร์ดแสดงผู้ติดเชื้อในช่วง 22-28 สิงหาคม 2564 โดยเฉลี่ย 53,657 คนในประเทศเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มีอัตราการตรวจพบ 0.6% ซึ่งหมายความว่าทุก ๆ 5 คนทำการทดสอบ จะติดเชื้อ 1 คน จากการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ผ่านมา องค์กรทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยต้องพบเจอกับอัตราการติดเชื้อและเสียชีวิตที่ยังคงสูงขึ้นเรื่อย ๆ จึงทำให้มีกฎข้อบังคับใช้ต่าง ๆ เพื่อเป็นแนวทางส่วนหนึ่งในการลดอัตราการติดเชื้อและอัตราการเสียชีวิตของประชากรและให้ความสำคัญกับทางบุคลากรทางการแพทย์มากยิ่งขึ้น ซึ่งห้องความดันลบสำหรับแยกผู้ป่วยที่ติดเชื้อทางเดินอากาศแบบแยกเดี่ยวสามารถให้บุคลากรทางการแพทย์ทำงานร่วมกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อได้ แต่เนื่องจากห้องความดันลบสำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อทางเดินอากาศแบบแยกเดี่ยวนั้นมีราคาที่สูงมากในปัจจุบัน ทำให้มีไม่เพียงพอต่อผู้ติดเชื้อไวรัส COVID-19 ดังนั้นจากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้เกิดการพัฒนาเพื่อหาแนวคิดที่จะออกแบบ และสร้างห้องความดันลบชนิดแยกเดี่ยวแบบจำลองที่สามารถลดทอนปัจจัยภายใน/ภายนอกต่าง ๆ เพื่อหาแนวทางการลดต้นทุนในการนำอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ยังคงมีคุณภาพแต่มีราคาที่ถูกลงมาติดตั้งเพื่อสร้างเป็นห้องความดันลบแบบแยกเดี่ยวที่สามารถมีราคาที่จับต้องได้และเพียงพอต่ออัตราการติดเชื้อสะสมที่ยังคงเพิ่มมากขึ้น จากนั้นทำการทดลองทดสอบวัดระดับค่าความดันพบว่าเป็นลบ 6.5 ปาสคาล ซึ่งอยู่ในช่วงระดับ มาตรฐานของห้องความดันลบทั่วไปที่ต่ำกว่า -2.5 ปาสคาล อีกทั้งยังวัดค่าปัจจัยต่าง ๆ ภายในห้องทั้งอุณหภูมิ ระดับเสียง ค่ากลิ่น และอื่น ๆ พบว่ายังคงอยู่ในช่วงค่ามาตรฐานทั้งสิ้น รวมถึงทดสอบประสิทธิภาพในการกรองอากาศดักจับเชื้อโรคด้วยธูปที่มีอนุภาคใกล้เคียงกับเชื้อไวรัส COVID-19 และวัดระดับความพึงพอใจจากการใช้ห้องความดันลบต้นแบบจากผู้เข้าร่วมจำนวน 10 คนก็มีความพึงพอใจที่ดี ทั้งหมดนี้ก็เพื่อการสร้างห้องความดันลบต้นแบบที่สมบูรณ์สามารถนำไปใช้งานได้และมีประสิทธิภาพ |
Abstract: | COVID-19 situation currently impacts the population around the world extremely. Because the virus spreads through an infected person's droplets easily. The most common symptoms are respiratory symptoms, fever, lost tasting, and possibly death. Therefore, the infection and death rate are still rising. Dealing with the risk-infected person is out of control and the biggest problem. The Standard website showed the infected people in the period 22-28 August 2021, an average of 53,657 people in the country. It had a detection rate of 0.6% which meant every 5 people tested, one was infected. The problem statement above led to developing the idea to design and build a negative pressure prototype having a lower cost but good quality. Hence, it is important to create a negative pressure room that is affordable and sufficient for the growing number of infected people. From The experiment shows that the pressure has less than -6.5 pascal from the standard level that less than -2.5 pascal also controls other conditions such as the temperature, the humidity, HCHO, 7VOC, the sound level, the air change per hour, and the volume of air to the standard level of general negative pressure room including the filtration tested with smoke that has almost same particle size as Covid-19 to make efficiency and high quality to quarantine the spreading. |
URI: | https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/25102 |
Appears in Collections: | BioEng-Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Eng_Piyapat_D.pdf Restricted Access | 54.96 MB | View/Open Request a copy |
Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.