Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/25009
Title: | การศึกษาประสิทธิภาพของการวัดความต้านทานไฟฟ้า ที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของไขมันด้วยเทคนิค BIA แบบสิบอิเล็กโทรด |
Other Titles: | A study of bioimpedance measuring performance towards the change of fat mass with 10-electrodes BIA |
Advisor : | ทวีชัย อวยพรกชกร |
Authors: | นริศรา แสงสว่าง รวงข้าว คำกอง ลักขิกา โบราณบุปผา |
Keywords: | เทคโนโลยี BIA การวัดแบบแปดอิเล็กโทรด การวัดแบบสิบอิเล็กโทรด |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ |
Abstract(TH): | การวัดองค์ประกอบของร่างกายมีวิธีการและเทคโนโลยีที่ใช้อย่างหลากหลาย แต่เทคโนโลยีการ ตรวจองค์ประกอบทางไฟฟ้าชีวภาพ (Bioelectrical Impedance Analysis, BIA) นั้นเป็นการวัดที่ สามารถทำได้ง่ายและไม่รุกลํ้าเข้าไปในร่างกาย (Non-invasive procedure) โดยจำนวนอิเล็กโทรดในการติดเพื่อตรวจวัดมีทั้งแบบสี่อิเล็กโทรด (Tetrapolar electrode) และ แบบแปดอิเล็กโทรด (Eight-polar electrode) ในระบบแบบแปดอิเล็กโทรดมีข้อจำกัดที่การตอบสนองของค่าศักย์ไฟฟ้ามีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยบริเวณ ท้อง สะโพก น่อง ก้น และหน้าอก ซึ่งอาจทำให้การประเมินองค์ประกอบของร่างกายในผู้หญิงอาจไม่ถูกต้อง โครงงานวิศวกรรมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการวัดความต้านทานไฟฟ้าที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของไขมันด้วยเทคนิค BIA แบบ 10 อิเล็กโทรด โดยการเพิ่มอิเล็กโทรด 2 ตัว จากระบบแบบแปดอิเล็กโทรดเป็นระบบแบบสิบอิเล็กโทรด จากการจำลองสถานการณ์ด้วยการเพิ่มไขมันในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในแต่ละจุดและตรวจสอบหาค่าแรงดันที่เปลี่ยนแปลงไปต่อการเพิ่มไขมันเฉพาะจุดของร่างกาย เพื่อใช้ในการตรวจสอบความสามารถในการรับรู้ไขมันในบริเวณต่าง ๆ ของร่างกายพบว่า ค่าความต้านของร่างกายจากการวัดในระบบแบบสิบอิเล็กโทรดสามารถวัดค่าความต้านทานของทั้งร่างกายได้มากกว่าระบบแบบแปดอิเล็กโทรดเท่ากับ 12.82Q และจากการจำลองการเพิ่มไขมันเข้าไปเฉพาะส่วนของร่างกาย พบว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงของค่าความต้านทานที่วัดได้ โดยในระบบแบบสิบอิเล็กโทรดมีความสามารถในการรับรู้ไขมันได้ดีกว่า |
Abstract: | There are various measuring techniques to estimate the body compositions. Bioelectrical Impedance Analysis (BIA) is a technique that can be done easily and it is non-invasive. The number of electrodes of BIA attached to the body is generally four or eight. The eightelectrode system is popular, however it has small sensitivity at the trunk, hips, calves, and breasts. This may cause inaccurate assessments of body composition in particular, in women. In this engineering project, the main objective was to determine the performance of the ten-electrode system, which is the improvement version of the eight-electrode system by adding two electrodes at the belly. Fat was added in various regions of the body to evaluate the sensitivity performance. The results show that the body impedance obtained from the ten-electrode system was 1.26% higher than that of the eight-electrode system. The sensitivity was improved as well. |
URI: | https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/25009 |
Appears in Collections: | BioEng-Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Eng_Narisara_S.pdf Restricted Access | 47.93 MB | View/Open Request a copy |
Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.