Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/25008
Title: การจำแนกบริเวณเลือดจากภาพถ่ายกล้องแคปซูล ด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงลึกและคุณสมบัติของสี
Other Titles: Segmentation of bleeding regions in wireless capsule endoscopy images using deep learning network and color feature-based
Advisor : ฑีฆพันธุ์ เจริญพงษ์
Authors: ชนากานต์ ตุ่นมานะ
รัชนีกร ดวงใจ
Keywords: การจำแนกภาพ
ภาพถ่ายจากกล้องแคปซูล
เลือดออกในระบบทางเดินอาหาร
Issue Date: 2564
Publisher: ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Abstract(TH): โครงงานวิศวกรรมนี้นำเสนอการจำแนกบริเวณเลือดจากภาพถ่ายกล้องแคปซูลด้วยวิธีการ วิเคราะห์เชิงลึกและคุณสมบัติของสี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยในการวินิจฉัยของผู้เชี่ยวชาญให้เป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็วขึ้น โดยมีทั้งหมด 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการจำแนกบริเวณเลือดด้วยโครงข่ายประสาทเทียม ประกอบด้วย 2 กระบวนการย่อย 1. ขั้นตอนการฝึกฝนข้อมูล และการปรับหาพารามิเตอร์ที่เหมาะสม 2. การจำแนกบริเวณเลือดด้วยโครงข่ายประสาทเทียม ขั้นตอนการจำแนกบริเวณเลือดด้วยวิธีการวิเคราะห์คุณสมบัติสีในโหมด L*a*b* color space ประกอบด้วย 3 กระบวนการย่อย 1. การเลือกภาพและบริเวณตัวอย่างเพื่อนำไปทำโทนสี 2. การทำโทนสีทั้งหมดเพื่อใช้ในการจำแนกพิกเซล 3. การจำแนกพิกเซลของภาพทั้งหมดในชุดข้อมูล และขั้นตอนการนำผลลัพธ์ของวิธีการจำแนกบริเวณเลือดด้วยโครงข่ายประสาทเทียมรวมกับวิธีการวิเคราะห์คุณสมบัติสีในโหมด L*a*b* color space โดยผลการทดลองการปรับหาค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมพบว่า ค่า Initial Learn Rate 0.003 และค่า Epoch ที่ 60 เหมาะสมที่สุด โดยมีค่าความถูกต้องอยู่ที่ร้อยละ 87.77 ในส่วนของขั้นตอนการจำแนกบริเวณเลือดด้วยโครงข่ายประสาทเทียม มีค่า Intersection over Union (loU) 53.75 % มีค่าความไว 67.06 % มีค่าความจำเพาะ 91.93 % และมีค่าความถูกต้อง 85.81 % ในส่วนของขั้นตอนการจำแนกบริเวณเลือด ด้วยการวิเคราะห์คุณสมบัติสีในโหมด L*a*b* color space พบว่ามีค่า Intersection over Union (loU) 48.77 % ค่าความไว 69.87 % มีค่าความจำเพาะ 85.89 % และมีค่าความถูกต้อง 81.95 % ในส่วนของการรวมผลลัพธ์จากทั้งสองวิธี มีค่า Intersection over Union (loU) 51.12 % มีค่าความไว 77.30 % มีค่าความจำเพาะ 83.31 % และมีค่าความถูกต้อง 81.83 % ซึ่งเป็นผลการทดลองในการจำแนกบริเวณเลือดที่มีความพึงพอใจระดับหนึ่ง
Abstract: This engineering project presents the segmentation of bleeding regions in WCE images using a deep learning network and color feature-based. The objective is to assist the diagnosis expert in being more convenient and faster. This research proposed a method to segment bleeding regions from WCE images. It has 3 main sections including: segmentation bleeding regions using Deep Learning network, segmentation bleeding regions using color feature-based and combination of output from Deep Learning network, and color feature-based method. First section has 2 processes: 1. set up training data for high accuracy model 2. segment the bleeding regions. Second section has 3 processes: 1. selecting sample images to make sample color tones 2. making color tones to segment bleeding regions 3. segment the bleeding regions. The last section is the combination of output from 2 sections. The result of section 1 has an initial learn rate of 0.003 and epoch 60, which made a high accuracy model with 87.77 per cent. It has 53.75 percent for loU, 67.06 percent for sensitivity, 91.93 per cent for specificity, and 85.81 per cent for accuracy. Section 2 has 48.77 percent for loU, 69.87 percent for sensitivity, 85.89 percent for specificity, and 81.95 percent for accuracy. The last section has 51.12 percent for loU, 77.30 percent for sensitivity, 83.31 percent for specificity, and 81.83 percent for accuracy. The accuracy of our method in approximately the results is quite good for this project.
URI: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/25008
Appears in Collections:BioEng-Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Eng_Chanakarn_T.pdf
  Restricted Access
37.35 MBPDFView/Open Request a copy


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.