Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/24990
Title: รูปแบบการทำงานของกล้ามเนื้อลำตัวขณะนั่งบนเก้าอี้อานม้าแบบเคลื่อนไหวในคนสุขภาพดี
Authors: พีรยา เต็มเจริญสุข
คมศักดิ์ สินสุรินทร
วิมลรัตน์ จารุเมธิตานนท์
ปัญชลิกา มินหะรีสุไรมาน
ยวิษฐา บัวพึ่งพันธุ์
Keywords: เก้าอี้อานม้าแบบเคลื่อนไหว
กล้ามเนื้อ
เครื่องวัดคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ
horse riding simulator
muscle activation
electromyography
Issue Date: 2561
Abstract(TH): ก้าอี้อานม้าแบบเคลื่อนไหว (horse riding simulator) ถูกสร้างขึ้นโดยจำลองมาจากการเคลื่อนไหวของลำตัวและเชิงกรานของม้าขณะเดิน เพื่อทดแทนข้อจำกัดในหลายด้านของการบำบัดโดยใช้ม้าจริงหรืออาชาบำบัด มีงานวิจัยมากมายที่ศึกษาเกี่ยวกับผลของการบำบัดด้วยเก้าอี้อานม้าแบบเคลื่อนไหวว่าช่วยพัฒนาด้านการทรงท่าที่ดีขึ้น รวมทั้งช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลำตัว แต่ยังไม่มีการศึกษาใดที่กล่าวถึงการทำงานของกล้ามเนื้อลำตัวขณะนั่งบนเก้าอี้อานม้าแบบเคลื่อนไหวว่ามีรูปแบบเป็นอย่างไร การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการทำงานของกล้ามเนื้อ rectus abdominis (RA), erector spinae (ES) และ external abdominal oblique (EO) ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อลำตัวที่ช่วยในการทรงท่า ขณะนั่งบนเก้าอี้อานม้าแบบเคลื่อนไหวในคนสุขภาพดีด้วยเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (EMG) ผู้เข้าร่วมการวิจัยจำนวน 10 คน อายุระหว่าง 21-23 ปี ถูกบันทึกคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อลำตัวทั้ง 3 มัด ขณะนั่งบนเก้าอี้อานม้าแบบอยู่นิ่ง และระหว่างนั่งบนเก้าอี้อานม้าแบบเคลื่อนไหว ผลการศึกษาพบว่า ขณะนั่งเก้าอี้อานม้าแบบเคลื่อนไหว กล้ามเนื้อ ES ทั้ง 2 ข้าง และ EO ข้างซ้ายมีการท�างานเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยส�าคัญ (ES ซ้าย: z=-2.09, p=0.02; ES ขวา: z=-1.68, p=0.04; EO ซ้าย: z=-2.09, p=0.02) และกล้ามเนื้อ EO ข้างขวามีแนวโน้มการทำงานที่เพิ่มมากขึ้น เมื่อเทียบกับขณะนั่งบนเก้าอี้อานม้าแบบอยู่นิ่ง แต่ไม่พบการทำงานที่เพิ่มขึ้นของ RA จึงสรุปได้ว่าเก้าอี้อานม้าแบบเคลื่อนไหวส่งผลให้กล้ามเนื้อลำตัวบางกลุ่มมีการทำงานที่เพิ่มขึ้นได้จริง ซึ่งการทำงานของกล้ามเนื้อลำตัวที่เพิ่มขึ้นนี้มีส่วนช่วยให้ความสามารถในการทรงตัวของผู้ที่นั่งบนเก้าอี้อานม้าแบบเคลื่อนไหวพัฒนามากขึ้นได้หากได้รับการฝึกเป็นประจำ
Abstract: Horse riding simulator is a machine that imitates trunk and pelvic movements of the horse during walking. This is created as a surrogate horse riding function and used in a rehabilitation program due to many limitations from the real horse. Previous researches have reported that horse riding simulator training helps improve balance and trunk muscles strength. However, a lack of study has reported how the trunk muscle normally work during riding a machine. It is interesting to study and find out an important information which can be applied in the clinical practice. Therefore, the purpose of this study was to investigate the trunk muscle activity including rectus abdominis (RA), erector spinae (ES), and external abdominal oblique (EO) muscles during riding a horse simulator in healthy adults. Ten participants (mean age 21-23 years) were attached with surface electromyography (EMG) electrodes at RA, ES, and EO of both sides. EMG of these muscles was recorded while sitting astride on a horse simulator saddle in static and moving conditions. The result demonstrated significant increases of EMG on both ES and left EO during horse simulator riding (left ES: z=-2.09, p=0.02; right ES: z=-1.68, p=0.04; left EO: z=-2.09, p=0.02). Right EO tended to gain activity with no significant difference. No change in RA activation as well. In conclusion, horse riding simulator can increase the activation of some trunk muscles that relate to balance control. These enhancements together with frequent exercises with horse simulator machine might lead to overall improvement in postural control and strengthening of the trunk muscles.
URI: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jmhs/article/view/142869
https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/24990
Appears in Collections:Pt-Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.