Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/24977
Title: ผลของความตึงตัวของกล้ามเนื้อหน้าอกมัดเล็กต่อภาวะห่อไหล่ และความตึงตัวของเส้นประสาทอัลน่า
Authors: วรวีร์ เต็มพร้อม
นิตยา วิริยะธารากิจ
ชไมพร แสงนนท์
Keywords: ภาวะห่อไหล
กล้ามเนื้อหน้าอกมัดเล็ก
ความตึงตึว
เส้นประสาทอัลน่า
rounded shoulder
pectoralis minor
ULNT lll
Issue Date: 2560
Abstract(TH): ความตึงตัวของของกล้ามเนื้อหน้าอกมัดเล็กที่มากเกินไปส่งผลให้สะบักมีการเคลื่อนและหมุนมาทางด้านหน้า ส่งผลให้เกิดการแคบลงของช่องว่างที่อยู่ใต้กล้ามเนื้อมัดนี้ อีกทั้งยังเพิ่มแรงกดทับต่อเส้นประสาท ทําให้เส้นประสาทมีความตึงตัวมากขึ้น ซึ่งลึกษณะดังกล่าวส่วนมากพบได้ในภาวะห่อไหล่ การศึกษาครั้งนี้เป็นแบบ ภาคตัดดขวาง (cross sectional study) เพื่อศึกษาความตึงตัวของกล้ามเนื้อหน้าอกมัดเล็กและความไวต่อการตอบสนองของเส้นประสาทอัลน่าระหว่างผู้ที่มีและไม่มีภาวะห่อไหล่ โดยคัดเลือกอาสาสมัครด้วยวิธี convenience sampling จํานวน 46 คน วัดความตึงตัวของความตึงตัวของกล้ามเนื้อหน้าอกมัดเล็กด้วยการวัด acromion distance และวัดความไวต่อการตอบสนองของเส้นประสาทอัลน่าด้วยการทดสอบ ULNT lll หลังสิ้นสุดการทดสอบ เปรียบเทียบความตึงตัวของกล้ามเนื้อหน้าอกมัดเล็กด้วยสถิติ unequal variance independent t-test และเปรียบเทียบความไวต่อการตอบสนองเส้นประสาทอัลน่าด้วยสถิติ chi square test ผลการศึกษาพบว่า ความตึงตัวของกล้ามเนื้อหน้าอกมัดเล็กมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกล่ม ที่มีและไม่มีภาวะห่อไหล่ (p=0.031) โดยมีค่าเฉลี่ย 0.32 (95%CI 0.28, 0.36) และ 0.47 (95%CI 0.34, 0.61) ตามลําดับ และในกลุ่มที่มีภาวะห่อไหล่พบความรุนแรงของความตึงตัวของเส้นประสาทอัลน่า (ULNT lll) ในระดับ 2 มากกว่าในกล่มที่ไม่มีภาวะห่อไหล่อย่างมีนัยสําคญทางสถิติ (p=0.022) คิดเป็นร้อยละ 95 และ 66.7ตามลําดับ ดังนั้นการปรับลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อหน้าอกมัดเล็กในผู้ที่มีภาวะห่อไหล่จะมีส่วนช่วยลดความตึงตัวและแรงกดทับของเส้นประสาทอัลน่า
Abstract: Pectoralis minor tightness directly involved increasing can effected to anterior tipping and internal rotation of scapular motion that was not only reduced sub-coracoid space but also increased nerve tension and compression. This condition commonly found in individuals who had rounded shoulder posture. Cross-sectional study aimed to investigate the effects of pectoralis minor tightness on acromion distance and sensitivity response of ulnar nerve in participants with and without rounded shoulder posture. Forty six participants were recruited in this study using convenience sampling. Pectoralis minor tightness was assessed by acromion distance and ratio while sensitivity of ulnar nerve was measured the ULNT III. As for the data analysis, unequal variance independent t-test was employed to compare the pectoralis minor tightness between participants with and without rounded shoulder groups whereas chi square test was compared sensitivity of ulnar nerve between both groups. The results were shown that pectoralis minor tightness had significant difference between rounded and without rounded shoulder groups (p=0.031); 0.32 (95%CI 0.28, 0.36) and 0.47 (95%CI 0.34, 0.61) respectively. Of rounded shoulder group, 95% presented level 2 of sensitivity of ulnar nerve that had significant higher than without rounded shoulder group (66.7%) (p=0.022). The findings in this study conditionally suggest that releasing of pectoralis minor muscle tightness in individuals with rounded shoulder are useful to reducing risks of ulnar nerve tension and compression.
Description: การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, 7 - 8 ธันวาคม 2560
URI: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/24977
Appears in Collections:Pt-Conference papers

Files in This Item:
File SizeFormat 
Pt-Varavee-T-2560.pdf215.54 kBPDFView/Open


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.