Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/24967
Title: ผลของการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อสะโพกต่อมุมข้อเข่าและข้อสะโพกทางด้านหน้าขณะก้าวลงบันไดในเพศหญิงที่มีและไม่มีอาการปวดเข่าทางด้านหน้า
Other Titles: Effects of Hip Muscle Strengthening on Knee Valgus and Hip Adduction Angles during Step Down Task in Females With and Without Patellofemoral Pain
Authors: ชัชฎา ชินกุลประเสริฐ
ประพรมพร พินิจมั้ง
ภัทราพร เกิดพุ่ม
ยลรดา ไชยศิริวงค์สุข
Keywords: hip abductor
hip external rotator
anterior knee pain scale
kinematics
hip strengthening program
Issue Date: 2560
Abstract(TH): ที่มาและความสำคัญ: การอ่อนแรงของกล้ามเนื้อกางข้อสะโพกและหมุนข้อสะโพกออกด้านนอก อาจจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางคิเนมาติกส์โดยข้อสะโพกหุบและบิดหมุนเข้าด้านใน ข้อเข่าชิดเข้าหากันมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มแรงกดอัดต่อข้อต่อลูกสะบ้า และนำไปสู่อาการปวดเข่าทางด้านหน้า แต่ไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับผลของโปรแกรมออกกำลังกายที่เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อสะโพกต่อการเปลี่ยนลักษณะทางคิเนมาติกส์ของข้อสะโพกและข้อเข่าขณะก้าวลงบันไดในผู้ที่มีอาการปวดเข่าทางด้านหน้า วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อสะโพกต่อมุมการหุบของข้อสะโพก การกางของข้อเข่า และอาการปวดในกลุ่มที่มีและไม่มีอาการปวดเข่าทางด้านหน้า วิธีการ: เพศหญิงที่มีอาการปวดเข่าทางด้านหน้า (PFP) 15 คน และไม่มีอาการปวดเข่าทางด้านหน้า 15 คน ได้รับโปรแกรมการฝึกเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อสะโพกเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ วัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อกางข้อสะโพกและหมุนสะโพกออกด้านนอก โดยใช้ Hand-held dynamometer (HHD) และวัดมุมการหุบข้อสะโพกและกางข้อเข่าขณะยืนนิ่งและก้าวลงบันได โดยใช้กล้องวิดีโอและโปรแกรม Kinovea version 0.8.15 ใช้ Independent t-test เพื่อเปรียบเทียบมุมข้อสะโพกและข้อเข่า ระหว่างกลุ่มที่มีและไม่มีอาการปวดเข่าทางด้านหน้า ผลการศึกษา: ภายหลังได้รับโปรแกรมการฝึก ทุกกลุ่มมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อกางข้อสะโพกและหมุนสะโพกออกด้านนอกเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และกลุ่มที่มีอาการปวดเข่าทางด้านหน้ามีมุมข้อเข่ากาง ขณะก้าวลงบันได (6.58 องศา) ลดลงมากกว่ากลุ่มที่ไม่มีอาการปวดเข่าทางด้านหน้า (0.47 องศา) อย่างมีนัยสำคัญ (p =.001) แต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของมุมข้อสะโพกหุบขณะก้าวลงบันไดระหว่างกลุ่มที่มีและไม่มีอาการปวดเข่าทางด้านหน้า (p =.138) นอกจากนี้ภายหลังได้รับโปรแกรมการฝึกกลุ่มที่มีอาการปวดเข่าทางด้านหน้ายังมีการปรับเปลี่ยนคะแนนอาการปวดเข่าทางด้านหน้า (95.2 คะแนน) เพิ่มขึ้นกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการฝึก (86.2 คะแนน) อย่างมีนัยสำคัญ (p <0.001) สรุปการศึกษา: โปรแกรมการฝึกนี้สามารถเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อกางข้อสะโพกและหมุนสะโพกออกด้านนอก และทำให้กลุ่มที่มีอาการปวดเข่าทางด้านหน้า มีมุมข้อเข่ากางลดลง นอกจากนี้ ยังทำให้อาการปวดเข่าด้านหน้าลดลง และกลับไปทำกิจวัตรได้ดีขึ้น
Abstract: Background: The weakness of hip abductor and external rotator muscles may result in altered hip and knee kinematics. Excessive hip adduction, hip internal rotation and knee valgus affect to increased patellofemoral joint stress and also contribute to patellofemoral pain syndrome. However, no study has investigated the effect of hip muscle strengthening program on hip and knee kinematics during step down in patellofemoral pain (PFP) persons. Objectives: To investigate the effect of hip muscle strengthening program on hip adduction and knee valgus angles, and pain in females with and without PFP. Methods: Fifteen females with PFP and fifteen females without PFP received hip strengthening program for 4 weeks. Hip muscle strength was measured by using hand-held dynamometer (HHD). Hip adduction and knee valgus angles during standing and step down were measured by using a video camera and Kinovea program version 0.8.15. Independent t-test was used to compare the hip and knee angles between PFP and control group. Results: Both groups showed the significant increases in hip abductor and hip external rotator strength after performing hip strengthening program. PFP group exhibited significantly decreased knee valgus during step down task more than the control group (6.58, 0.47 degrees, p =.001). However, there was no significant differences in hip adduction during step down between PFP and control group (p=.138). Moreover, PFP group revealed significant improvement in the Kujala anterior knee pain scale (before 86.2, after 95.2, p < 0.001). Conclusion: Hip strengthening program can increase hip muscle strength, decrease knee valgus and improve pain and function
URI: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjpt/article/view/112248
https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/24967
Appears in Collections:Pt-Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.