Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/24966
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างแบบประเมินความสามารถในการช่วยเหลือตนเองฉบับภาษาไทยกับการทดสอบ Timed Up and Go Test ในผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังแบบไม่สมบูรณ์
Other Titles: Correlation between Spinal Cord Independence Measure III (Thai version) and Timed Up and Go Test in patients with incomplete spinal cord injury
Authors: จิราภรณ์ วรรณปะเข
สุกัลยา อมตฉายา
Keywords: ผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง
การประเมินความสามารถ
การช่วยเหลือตนเอง
การจัดการระบบการหายใจ
การขับถ่าย
functional assessment
self-care
respiratory and sphincter management
Th-SCIM III
Spinal cord injury
Issue Date: 2560
Abstract(TH): ที่มาและความสำคัญ: การประเมินระดับความสามารถของผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังมีความจำเป็นอย่างมากในการตั้งเป้าหมายการรักษาและการติดตามผล แบบประเมิน Spinal Cord Independence Measure (SCIM) ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประเมินผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง และมีการแปลเป็นภาษาไทย (Th-SCIM III) อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบการศึกษาที่รายงานข้อมูลความสอดคล้องของผลการประเมิน Th-SCIM III กับการทดสอบ Timed Up and Go Test (TUGT) ในผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของแบบประเมิน Th-SCIM III และการทดสอบ TUGT ในผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังแบบไม่สมบูรณ์ทั้งหมด และ แบบแยกตามความรุนแรงของพยาธิสภาพ (association impairment scale (AIS) classification อยู่ใน class C และ class D)วัสดุและวิธีการ: อาสาสมัครผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังแบบไม่สมบูรณ์ จำนวน 47 ราย (AIS class C 20 ราย และ class D 27 ราย) รับการตรวจประเมินความสามารถในการช่วยเหลือตนเองโดยใช้แบบประเมิน Th-SCIM III และทดสอบความสามารถโดยใช้ TUGT ใช้สถิติ Spearman rank correlation coefficient วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างแบบประเมิน Th-SCIM III และการทดสอบ TUGTผลการศึกษา: แบบประเมิน Th-SCIM III มีความสัมพันธ์กับการทดสอบ TUGT ในระดับดีมาก (Spearman’s rho = -0.764) เมื่อวิเคราะห์แยกรายหมวด พบว่ามีความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลางถึงดีมาก (Spearman’s rho ระหว่าง -0.410 ถึง -0.856) เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์แยกตามระดับความรุนแรงของพยาธิสภาพพบว่า ในอาสาสมัครที่มี AIS class D มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลางถึงดีมากทุกหมวด ยกเว้นหมวดการจัดการระบบการหายใจและการขับถ่าย และในอาสาสมัครที่มี AIS class C พบความสัมพันธ์ในระดับปานกลางถึงดีมากเพียงคะแนนรวมและหมวดการควบคุมการเคลื่อนไหวสรุปผลการศึกษา: แบบประเมินความสามารถในการช่วยเหลือตนเองฉบับภาษาไทย (Th-SCIM III) มีความสัมพันธ์กับ TUGT ในผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังแบบไม่สมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม แบบประเมินนี้ยังมีข้อจำกัดในผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังแบบไม่สมบูรณ์ที่มีระดับความรุนแรงของพยาธิสภาพสูง ดังนั้น หากต้องการนำแบบประเมินนี้ไปใช้ในการตรวจประเมินผู้ป่วยกลุ่มนี้ อาจจำเป็นต้องใช้การทดสอบอื่นร่วมด้วย
Abstract: Background: Functional assessment in patients with spinal cord injury (SCI) is necessary for treatment and follow up planning. Spinal Cord Independence Measure (SCIM) was developed for assessment in patients with SCI and translated into Thai language (Th-SCIM III). However, there has no evidence regarding to the correlation between Th-SCIM III and Timed Up and Go Test (TUGT) in patients with SCI. Objectives: To determine the correlation between Th-SCIM III and TUGT in subjects with SCI. In addition, correlation between Th-SCIM III and TUGT of subjects with SCI with association impairment scale (AIS) classification class C and AIS class D was also focused. Materials and methods: Forty-seven subjects with SCI were recruited (20 subjects with AIS class C and 27 subjects with AIS class D). Subjects were assessed for their capabilities by Th-SCIM III and TUGT. Spearman rank correlation coefficient was used to determine the correlation between these variables. Results: Results revealed that Th-SCIM III had excellent correlation with TUGT (Spearman’s rho = -0.764). Moreover, each domain of Th-SCIM III had moderate to excellent correlation with TUGT (Spearman’s rho -0.410 to -0.856). Subjects with AIS class D showed moderate to excellent correlation between Th-SCIM III and TUGT except respiratory and sphincter management domains. However, in subjects with AIS class C, moderate to excellent correlation between Th-SCIM III and TUGT was observed only in total score and mobility domain. Conclusion: Th-SCIM III was correlated with TUGT. However, Th-SCIM III had some limitations to assess incomplete SCI patients with high severity. Thus, other assessments to validate actual performance in these patients may be required.
URI: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bulletinAMS/article/view/74558
https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/24966
Appears in Collections:Pt-Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.