Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/24965
ชื่อเรื่อง: | ความคิดเห็นของนิสิตกายภาพบำบัด มศว และนักกายภาพบำบัดที่มีความรู้เกี่ยวกับแบบประเมิน STREAM ต่อการนำแบบประเมินนี้ไปใช้ในคลินิก |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Opinions of Srinakharinwirot University students and physical therapists who have the knowledge of the Stroke Rehabilitation Assessment of Movement (STREAM) on the implementation of this scale in clinical practice |
ผู้แต่ง: | จิราภรณ์ วรรณปะเข รัมภา บุญสินสุข ชลัยรัตน์ ชูเชิดเลิศสิริกุล นันท์พิพัฒน์ สาคะรัง สุพพัตราสุขคะตะ |
Keywords: | Upper extremity assessment Lower extremity assessment Mobility Assessment Neurological deficits |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
Abstract(TH): | ที่มาและความสำคัญ: การตรวจประเมินความสามารถในการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองด้วยแบบประเมินที่เป็นมาตรฐานสากลมีความสำคัญต่อการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วย แต่การใช้แบบประเมินมาตรฐานยังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลายในประเทศไทย คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ได้เลือกใช้แบบประเมิน Stroke Rehabilitation Assessment of Movement (STREAM) เป็นแบบประเมินหลักในการตรวจประเมินความสามารถในการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยบรรจุในการเรียนการสอนของหลักสูตรกายภาพบำบัด มศว ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2011 จนถึงปัจจุบัน และมีการเผยแพร่เอกสารแบบประเมินดังกล่าวแก่นักกายภาพบำบัดที่สนใจและนักกายภาพบำบัดที่ควบคุมการฝึกปฏิบัติงานทางคลินิกของนิสิต มศว แต่ยังไม่มีข้อมูลด้านการนำความรู้ที่ได้จากการเรียนการสอนไปใช้ในการปฏิบัติงานทางคลินิก วัตถุประสงค์: การศึกษานี้ต้องการสำรวจความคิดเห็นของผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับแบบประเมิน STREAM ต่อการใช้แบบประเมิน STREAM ในคลินิก วิธีการวิจัย: การศึกษานี้ใช้แบบสำรวจเก็บข้อมูลในกลุ่มอาสาสมัคร 274 คน ได้แก่ นิสิตกายภาพบำบัด มศว ชั้นปีที่ 3 และ 4 จำนวน 119 คน บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากคณะกายภาพบำบัด มศว ปีการศึกษา 2556 และทำงานเป็นนักกายภาพบำบัด จำนวน 77 คน และ นักกายภาพบำบัดทั่วไปและนักกายภาพบำบัดที่ควบคุมการปฏิบัติงานทางคลินิกด้านระบบประสาทของนิสิตกายภาพบำบัด มศว จำนวน 78 คน ผลการวิจัย: พบว่า ร้อยละ 83.75 ของอาสาสมัครเคยใช้แบบประเมิน STREAM อาสาสมัครส่วนใหญ่ (ร้อยละ 83.33) เห็นว่าแบบประเมิน STREAM เป็นแบบประเมินที่สามารถระบุความผิดปกติด้านการเคลื่อนไหวและใช้วางแผนการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองได้ อาสาสมัครร้อยละ 51 มีแนวโน้มที่จะใช้แบบประเมิน STREAM เป็นแบบประเมินหลักในการตรวจประเมินผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง แต่อาสาสมัครส่วนหนึ่งยังไม่แน่ใจ (ร้อยละ 41) หรือไม่มีแนวโน้มที่จะใช้แบบประเมิน STREAM (ร้อยละ 6) สรุปผล: ผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับแบบประเมิน STREAM มีความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์และข้อด้อยของแบบประเมินนี้เป็นอย่างดี แต่การนำแบบประเมินนี้ไปใช้ในการปฏิบัติงานจริงยังไม่มากพอเนื่องจากเห็นว่าแบบประเมิน STREAM ใช้เวลาในการตรวจประเมินนาน และผู้ประเมินยังไม่คุ้นเคยและไม่เข้าใจในแบบประเมิน ซึ่งข้อจำกัดนี้อาจแก้ไขได้โดยเพิ่มการฝึกฝนการใช้แบบประเมิน STREAM ให้มากขึ้น |
บทคัดย่อ: | Background: Assessment of functional ability in patients with stroke using standardized clinical scale is important in rehabilitation but the use of such scale is not commonly practiced in Thailand. Faculty of Physical Therapy, Srinakharinwirot University (SWU) selected the STREAM as the main scale for assessing movement in patients with stroke by incorporating into the SWU physical therapy curriculum since 2011 and distributing the STREAM materials to physical therapists who are interested and SWU clinical instructors. However, there is no information on the implementation of the STREAM in clinic. Objective: This study surveyed the opinions of SWU physical therapy students and clinical instructors for the implementation of the STREAM in clinic. Method: Data was obtained from 274 participants, including 119 3rd and 4th year SWU Physical Therapy students, 77 SWU alumni and 78 physical therapists and neurological clinical instructors using the questionnaire. Results: The study showed that 83.75% have experience in using the STREAM to assess the patients with stroke. Most of participants (83.33%) agreed that the STREAM was able to identify abnormal movement and plan the treatment for patients with stroke. Fifty one percent of participants had a tendency to use the STREAM as a major scale to assess patients with stroke but some were hesitant (41%) or did not intend to use the STREAM (6%). Conclusion: The use of the STREAM in practice is not enough because the STREAM could be solved by increased practice time for using the STREAM. |
URI: | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjpt/article/view/112246 https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/24965 |
Appears in Collections: | Pt-Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.