Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/24957
Title: การรับรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลทุ่งมน อำเภอปราสาท จังหวดัสุรินทร์
Other Titles: Healthperceivesandself-carebehaviors ofpeople withdiabetes mellitus in TungmonSubdistrict, Prasat District,Surin Province
Authors: อ้อมใจ แต้เจริญวิริยะกุล
กิตติยา ศิลาวงศ์ สุวรรณกูฏ
Keywords: พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง
ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
self-care behavior
diabetic patient
Issue Date: 2559
Abstract(TH): การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อจะศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลทุ่งมน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 70 คน เป็นเพศชาย จำนวน 24 คน และเพศหญิง จำนวน 46 คน โดยใช้ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมประมวลผลสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ได้แก่ จำนวน ร้อยละ และค่าไควส์แควร์ ผลการวิจัย พบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลทุ่งมน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์มีการรับรู้ด้านสุขภาพในระดับปานกลาง และมีพฤติกรรมการดูแลตนเองในระดับดี ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีเพศอายุสถานะภาพสมรสอาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ระยะเวลาที่ทราบว่าเป็นโรคเบาหวาน ภาวะแทรกซ้อน ที่ต่างกัน มีแบบแผนการรับรู้ด้านสุขภาพที่ไม่แตกต่างกัน ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่มีระดับการศึกษากับแหล่งของรายได้ที่ต่างกันมีแบบแผนการรับรู้ด้านสุขภาพที่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีเพศ ระยะเวลาที่ทราบว่าเป็นโรคเบาหวานภาวะแทรกซ้อน ที่ต่างกันมีแบบแผนการรับรู้ด้านสุขภาพ ที่ไม่แตกต่างกันผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีอายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาอาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ที่ต่างกันมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนแบบแผนการรับรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วย โรคเบาหวาน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Abstract: The aims of this descriptive research were to explore the relationship between health perceives and self-care behaviors of the people with diabetes mellitus (DM) in Tungmon Subdistrict, Prasat District, Surin Province. The sample included of 70, 24 males and 46 females from Stratified randomsampling technique. Data were collected by using three questionnaires assessing personal data, health perceives and self-care behaviors. Data were analyzed by using frequency, percentage, and Chi-Square. The results of this study indicated that the people with DM in Tungmon Subdistrict, Prasat District, Surin Province had moderate levels of health perceives and had good levels of Self-care behaviors. The difference of gender, age, marital status, occupations, the monthlyincome, the period of time that know diagnosis, and complications shown no difference of healthperceives and the difference of education levels, and income resources shown difference ofHealth perceives at .05 levels of significance. The difference of gender, the period of time thatknow diagnosis, and complication shown no difference of health perceives and the difference ofage, marital status, education levels, occupations, and the monthly incomeshown difference of selfcare behaviors at .05 levels of significance. Health perceives of thepeople with DM had positive correlation with self-care behaviors at .05 levels of significance.
URI: https://physicaltherapy.swu.ac.th/sites/default/files/2021-04/%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B9%8C_%E0%B8%AD.%E0%B8%AD%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%83%E0%B8%88.pdf
https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/24957
Appears in Collections:Pt-Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.