Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/24956
Title: ความสัมพันธ์ของลักษณะทางสัณฐานวิทยาของหญ้าดอกขาว (Leptochloa chinensis (L.) Nees และความหลากหลายชนิดของวัชพืชในนาข้าว : กรณีตำบลองครักษ์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก
Other Titles: Relationship of Sprangletop(Leptochloa chinensis (L.) Nees) morphology and weeds diversity in Rice fields, Tumbon Ongkarak sub-district, in Onkarak district, Nakornnayok Province Thailand
Authors: กัญจน์ ศิลป์ประสิทธิ์
ภัทรพงษ์ เกริกสกุล
อรินทม์ งามนิยม
ศิริกุล ธรรมจิตรสกุล
Keywords: การระบาดของวัชพืช
ดัชนีความหลากหลาย
วัชพืชดื้อยา
เครื่องหมายทางชีวภาพ
Sprangletop
Weed dissemination
diversity
index
herbicide-resistancebiomarker
Issue Date: 2559
Abstract(TH): การระบาดของวัชพืช หญ้าดอกขาว มีการพบมากในพื้นที่อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ซึ่งเป็นอำเภอหนึ่งที่มีการปลูกข้าวมากกว่า ร้อยละ 80 ของพื้นที่ทั้งหมดนอกจากนี้ยังมีวัชพืชอีกหลายชนิดที่เจริญในนาข้าวควบคู่กับการระบาดของหญ้าดอกขาว ซึ่งการหาความสัมพันธ์ของลักษณะทางกายภาพของหญ้าดอกขาว (Leptochloa chinensis (L.) Nees และความหลากหลายชนิดของวัชพืชในนาข้าว จะนำไปสู่การคาดการณ์การระบาดของวัชพืชต่างๆโดยพิจารณาจากปริมาณและลักษณะของหญ้าดอกขาวที่พบได้ ในการศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ สำรวจวัชพืชที่พบในนาข้าว รวมทั้งวัชพืชหญ้าดอกขาวและลักษณะทางสัณฐานวิทยาของหญ้าดอกขาวที่พบ โดยระยะเวลาในการสำรวจวัชพืชโดยอาศัยลักษณะดอกหญ้าเป็นตัวบ่งชี้ชนิดพันธุ์ ได้ทำการสำรวจความหลากหลายชนิดของวัชพืช ในระยะที่ต้นข้าวออกรวง ซึ่งทำให้แยกความแตกต่างระหว่างตันข้าวกับวัชพืชจำพวกหญ้าได้ชัดเจนวิธีการศึกษาโดยเปรียบเทียบจำนวนของวัชพืชอื่นๆและหญ้าดอกขาว รวมถึงลักษณะทางสัณฐานวิทยาของหญ้าดอกขาวทั้งในแปลงนาและพื้นที่ตามธรรมชาติ โดยสุ่มแปลงนา จำนวน 7พื้นที่ และแหล่งธรรมชาติจำนวน 5 พื้นที่ ครอบคลุมพื้นที่ ตำบลองครักษ์ในแต่ละพื้นที่ทำการ สุ่มแปลงสำรวจขนาด 5 x 20เมตร จำนวน 3แปลงจากการสำรวจพบว่าในระยะนี้จะพบวัชพืชได้แก่ หญ้าดอกขาว (Leptochloa chin-ensis Nees) หญ้าข้าวนก (Chinochloa crus-galli (L.) T. Beauv.) ผักปอด (Sphenoclea zeylanica Gaertn) กกขนาก (Cyperus difformis L) โดยหญ้าดอกขาวมีการระบาดในทุกแปลงนาที่สำรวจ เมื่อวิเคราะห์หาค่าดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพ (Shannon biodiversity index)ของวัชพืชพบว่าแปลงที่ P3 มีความหลากหลายมากที่สุดด้วยค่าดัชนี1.149 รองลงมาคือ P4,P7,P2,P6,P1 และ P5โดยมีค่าดัชนีเท่ากับ 1.039, 0.995, 0.995,0.959, 0.933 และ 0.598ตามลำดับ เมื่อศึกษาความสัมพันธ์ของความหลากหลายของวัชพืชแต่ละชนิดพบว่าจำนวนประชากรหญ้าดอกขาว ผักปอด และกกขนากสัมพันธ์แบบผกผันกับดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพ และยังพบว่าจำนวนวัชพืชกกขนากกับจำนวนผักปอดมีความสัมพันธ์แบบผกผันกันอย่างมีนัยสำคัญ จากการศึกษาความหลากหลายและความสัมพันธ์ดังกล่าว สามารถใช้เป็นข้อมูลคาดการณ์การกระจายตัวและการระบาดของวัชพืชบางชนิดได้โดยดูจากความสัมพันธ์ของลักษณะทางสัณฐานวิทยาของหญ้าดอกขาวกับดัชนีความหลากหลายของวัชพืช ซึ่งพบว่าความหลากหลายชนิดของวัชพืชในนาจะสัมพันธ์กับความยาวรากของวัชพืชหญ้าดอกขาวในนาข้าว ในการศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาของหญ้าดอกขาวโดยทำการเปรียบเทียบขนาดลำต้น ความสูงของลำต้น ขนาดของใบ และความยาวราก จะพบว่ากลุ่มประชากรในนาข้าวกับกลุ่มในธรรมชาติ มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน โดยขนาดลำต้น ความสูงของลำต้น ขนาดใบของกลุ่มที่เจริญในธรรมชาติจะมีขนาดใหญ่และสูงกว่ากลุ่มประชากรหญ้าดอกขาวในนาข้าว ขณะที่ความยาวรากของกลุ่มประชากรในนาจะยาวมากกว่ากลุ่มประชากรหญ้าดอกขาวในธรรมชาติเมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของลักษณะสัณฐานวิทยาของหญ้าดอกขาวในแปลงนาข้าวพบว่าขนาดลำต้นมีความสัมพันธ์กับความยาวรากที่ระดับความน่าเชื่อถือ 99% สัมพันธ์กับความยาวช่อที่ระดับความน่าเชื่อถือ95% ความสูงลำต้นสัมพันธ์กับความยาวรากที่ระดับความน่าเชื่อถือ 95% แสดงให้เห็นว่ารากมีความยาวมากจะพบว่าลำต้นมีขนาดใหญ่และลำต้นสูงจากการศึกษานี้สามารถใช้ความแตกต่างทางลักษณะภายนอกของวัชพืชหญ้าดอกขาว เป็นเครื่องหมายในการติดตามการระบาดของประชากรที่ดื้อยาต่อไปได้
Abstract: A field survey of weeds found in rice so that the rice grains start. Weeds are found Sprangletop (Leptochloa chinensis Nees)Banyard grass(Chinochloa crus-galli (L.) T. Beauv.)Goose weed (Sphenoclea zeylanicaGaertn) and small flower(Cyperus difformis L) , and Spangelop were found all paddyfield . The diversity index of weed showed that P3 contained highest weed diversity with shannon index equal to 1.149and followed by P4,P7,P2,P6,P1 and P5 with the index equal to1.039, 0.995, 0.995, 0.959, 0.933 and 0.598, respectively.The morphorlogy comparision showed that the stem height, leaves width and roots length are found in natural populations with rice were clearly different the paddy field. The stem height, leaf width of the weed in natural habitat were more than the paddyfield group. While, the root length of the field was more than groups in nature. The correlationship of the Spangelop morphology in paddyfield population showed the length of stem and root correlated with 99% and associated with a bouquet at 95%, the stem height relative root length at 95 %. However, the difference morphology of spangelop cloud be used as biomarker to track weed distribution in paddy fields
URI: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/250299
https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/24956
Appears in Collections:Pt-Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.