Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/24928
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorผกาภรณ์ พู่เจริญ-
dc.contributor.authorอรพินท์ การุณทรัพย์เจริญ-
dc.date.accessioned2022-09-07T08:17:42Z-
dc.date.available2022-09-07T08:17:42Z-
dc.date.issued2558-
dc.identifier.urihttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjpt/article/view/114454-
dc.identifier.urihttps://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/24928-
dc.language.isoth-
dc.subjectergonomic-
dc.subjectergonomic associated factors-
dc.subjectagriculturist-
dc.subjectwork tasks-
dc.subjectmusculoskeletal problems-
dc.titleการสำรวจปัญหาระบบกระดูกและกล้ามเนื้อและปัจจัยที่เกี่ยวข้องทางการยศาสตร์ในผู้ประกอบอาชีพ เพาะพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับในหมู่บ้านไม้ดอกไม้ประดับคลอง 15 อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก-
dc.title.alternativeSurvey of musculoskeletal disorder and ergonomicassociated factors in flower agriculturist atklong 15Village, Ongkarakdistrict, Nakhon-Nayok province.-
dc.typeArticle-
dc.identifier.bibliograpycitationวารสารกายภาพบำบัด ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 (2015): มกราคม-เมษายน 2558-
dc.description.abstractthaiวัตถุประสงค์: เพื่อสำรวจปัญหาของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อและปัจจัยทางการยศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดปัญหาระบบกระดูกและกล้ามเนื้อในผู้ประกอบอาชีพเพาะพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ ผู้ร่วมวิจัย: ผู้ประกอบอาชีพเพาะพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ ที่เช่าพื้นที่ของกรมธนารักษ์ในหมู่บ้านไม้ดอกไม้ประดับ คลอง 15 อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ในปี พ.ศ. 2554 จำนวน 222 คน วิธีวิจัย: รวบรวมข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ระหว่างเดือนมกราคม – กันยายน พ.ศ. 2554 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและ Chi-square test ผลการวิจัย: พบผู้มีปัญหาของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ 184 คน (82.88%) ทุกคนมีปัญหาอย่างน้อย 1 ตำแหน่งของร่างกาย ตำแหน่งที่พบปัญหามากที่สุด 3 อันดับแรก คือ หลังส่วนล่าง ด้านหน้าเข่า บริเวณด้านหน้าและด้านหลังของไหล่ ปัจจัยด้านบุคคล คือเพศ อายุ อายุการทำงานเพาะพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ ความพึงพอใจในการประกอบอาชีพ ประวัติการประกอบอาชีพอื่นมาก่อนเพาะพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับอาชีพเสริมและโรคประจำตัวไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดปัญหาของกระดูกและกล้ามเนื้อ แต่พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p= .001) ระหว่างงานในขั้นตอนการจำหน่าย (ปัจจัยด้านงาน) และการทำงานกลางแดดในขั้นตอนจำหน่าย (ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม) กับการเกิดปัญหาระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ จึงควรศึกษาต่อไปเพื่อค้นหาขั้นตอนงานที่มีความเสี่ยงสูงและวิเคราะห์หาสาเหตุเพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดกับระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ-
Appears in Collections:Pt-Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.