Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/24804
Title: รายงานการวิจัยผลของการฝึกโปรแกรมพลัยโอเมตริกที่มีผลต่อสมรรถภาพทางกายของนักกีฬาบาสเกตบอลหญิง
Other Titles: The effect of plyometric training program on physical fitness of female basketball plater
Authors: นรินทรา จันทศร
พิทักษ์ สุพรรโณภาพ
คณิต เขียววิชัย
อัยรัสต์ แกสมาน
Keywords: โปรแกรมพลัยโอเมตริก
สมรรถภาพทางกาย
บาสเกตบอล
Issue Date: 2565
Publisher: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract(TH): การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมพลัยโอเมตริกที่มีผลต่อสมรรถภาพทางกายของ นักกีฬาบาสเกตบอลหญิงและเพื่อเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายของนักกีฬาบาสเกตบอลหญิง ระดับอุดมศึกษา จังหวัดนครปฐม ก่อนการทดลอง หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 และหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักกีฬาบาสเกตบอลทีมหญิง ระดับอุดมศึกษา จังหวัดนครปฐม ปีการศึกษา 2563 แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม คือ นักกีฬาบาสเกตบอลทีมหญิง มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ และนักกีฬาบาสเกตบอลทีมหญิง มหาวิทยาลัยมหิดล กลุ่มละ 14 คน รวมทั้งสิ้น 28 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง กลุ่มทดลองเข้ารับการฝึกโปรแกรมพลัยโอเมตริกเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพทางกาย เก็บข้อมูลโดยการทดสอบสมรรถภาพทางกาย ก่อนการทดลอง หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 และหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 วิเคราะห์ความแปรปรวนโปรแกรมการทดลองวัดซ้ำมิติเดียว และเปรียบเทียบผลสมรรถภาพทางกายนักกีฬาบาสเกตบอลหญิงระหว่างกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมโดยใช้การวิเคราะห์ทางสถิติแบบทีที่กลุ่มตัวอย่างเป็นอิสระต่อกัน จากผลการวิจัยพบว่า 1. โปรแกรมพลัยโอเมตริกที่พัฒนาขึ้นเป็นรูปแบบการฝึกที่มีประสิทธิภาพมีค่าความตรง ที่ยอมรับได้ เท่ากับ 1.00 โปรแกรมพลัยโอเมตริก ประกอบไปด้วย 1) หลักการและวัตถุประสงค์ 2) ขั้นตอนการฝึกโปรแกรมพลัยโอเมตริก การอบอุ่นร่างกาย หลักการฝึก ความหนักในการฝึกพลัยโอเมตริก ระดับความหนักในการฝึก ความถี่ในการฝึก ปริมาณการฝึกพลัยโอเมตริก การคลายกล้ามเนื้อและการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ และ 3) การวัดและประเมินผล สามารถนำไปใช้ในการฝึกเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกายของนักกีฬาบาสเกตบอลหญิงได้ 2. ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมแบบทางเดียวของสมรรถภาพทางกาย กลุ่มทดลองกับกลุ่ม ควบคุม หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 พบว่า ผลการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย องค์ประกอบของร่างกายในส่วนปริมาณไขมันที่สะสมในร่างกาย ความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อหลังและต้นขาด้านหลัง ความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อลำตัว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขน ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ความแข็งแรงและพลังของกล้ามเนื้อแขนและหัวไหล่ พลังของกล้ามเนื้อขา ความคล่องแคล่วว่องไว ความเร็ว สมรรถภาพการใช้พลังงานแบบไม่ใช้ออกซิเจน สมรรถภาพการใช้พลังงานแบบใช้ออกซิเจนสูงสุด มีค่าเฉลี่ยของการพัฒนาที่ดีกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากการวิจัยครั้งนี้ สรุปได้ว่า ผลของการพัฒนาโปรแกรมพลัยโอเมตริกมีผลต่อสมรรถภาพทางกายของนักกีฬาบาสเกตบอลหญิง ช่วยส่งเสริมสมรรถภาพทางกายของนักกีฬาบาสเกตบอลหญิงได้ โดยมีผลต่อการพัฒนาสมรรถภาพทางกาย ด้านขององค์ประกอบร่างกาย(ปริมาณไขมันสะสม) ความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อลำตัว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา แขนและหัวไหล่ ความคล่องแคล่วว่องไว ความเร็ว และสมรรถภาพการใช้พลังงานแบบไม่ใช้ออกซิเจน
Abstract: The purpose of this research was to develop a plyometric training program on physical fitness of female basketball players, and to compare physical fitness of female basketball players who studying in universities in Nakhon Pathom province before and after the experiment with the post-tests at 4th and 8th weeks. The sample selected by purposive sampling consisted of 28 female basketball players who were studying in the universities in Nakhon Pathom province, academic year 2020. They were divided into two groups. The experimental group contained 14 female basketball team players from Silpakorn University (Sanam Chandra Palace Campus), and the control group comprised 14 female basketball team players from Mahidol University. The experimental group had been practiced with plyometric training program on female basketball player performance. Data were collected by means of physical fitness tests before the experiment, and after the experiment at 4th and 8th weeks. The Plyometric Quality Program was validated by the method of an expert seminar. The collected data from the plyometric training program on physical fitness were analyzed by one-way repeated-measures and compared physical performance in female basketball players between the experimental group and the control group using an independent sample t-test. The results of this research were as follows: 1. The developed plyometric program was found as an effective training model with an acceptable accuracy at 1.00, The experiment also shed light on three key components of the program that should consist of: 1) principles and objectives, 2) plyometric training procedures: Warm-up, Principle of Training, Plyometric Intensity, Plyometric Frequency, Plyometric Volume, Cool-down, and Stretching, and 3) measurement and evaluation. which can be used in training and improving the physical performance of female basketball players; 2. The one-way covariance analysis results of physical fitness of the experimental group and the control group after 8th week of the experiment showed: average analysis results of body fat percentage, body composition, flexibility of the muscles of the back and thighs, flexibility of trunk, muscle strength of arm, leg muscle strength, strength and power of the muscles of the arms and shoulders, leg muscle power, agility, speed, anaerobic energy performance measurement, and maximum aerobic energy efficiency of the experimental group reported significantly higher scores than the control group, p = .05 In conclusion, the plyometric program was found affected on physical fitness of female basketball players; such as body fat percentage, body composition, flexibility of the muscles of trunk, leg muscle strength, muscle strength of arm, leg muscle strength, strength and power of the muscles of the arms and shoulders, leg muscle power, agility, speed, anaerobic energy performance measurement.
URI: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/24804
Appears in Collections:SpSci-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pe_Narinthra_C_EffectofPlyometric.pdf16.19 MBPDFView/Open


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.