Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/19461
Title: การพัฒนาของที่ระลึกประเภทเครื่องประดับจากทุนวัฒนธรรม
Other Titles: DEVELOPMENT OF SOUVENIR-JEWELRY FROM CULTURAL CAPITAL
Authors: บุญสิตา โศภาคนี
อินทกะ พิริยะกุล
Keywords: ของที่ระลึก
เครื่องประดับ
ทุนวัฒนธรรม
Souvenir
Jewelry
Cultural capital
Issue Date: 2564
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาของที่ระลึกประเภทเครื่องประดับจากทุนวัฒนธรรม กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ นักท่องเที่ยวต่างชาติ จำนวน 100 คน โดยการวิจัยนี้ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยเก็บข้อมูลปฐมภูมิจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านด้วยวิธีสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า คุณลักษณะที่ใช้ในการพิจารณาในการพัฒนาของที่ระลึกประเภทเครื่องประดับจากทุนวัฒนธรรม ได้แก่ ประเภทเครื่องประดับ วัสดุ ประเภททุนวัฒนธรรม และแนวคิดในการออกแบบ ขั้นตอนที่สองเป็นการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบสอบถาม และวิเคราะห์ผลด้วยเทคนิคคอนจอยท์ พบว่า รูปแบบผลิตภัณฑ์ที่นักท่องเที่ยวต่างชาติมีความพึงประสงค์สูงสุดคือ เครื่องประดับชาร์มจากวัสดุทองเหลือง ที่ออกแบบจากแนวคิดทุนวัฒนธรรมประเภทงานช่างฝีมือดั้งเดิมในแบบไทยร่วมสมัย คุณลักษณะด้านประเภททุนวัฒนธรรม มีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือ คุณลักษณะด้านวัสดุ โดยวัสดุทองเหลืองให้ค่าความพึงประสงค์สูงสุด คุณลักษณะด้านประเภททุนวัฒนธรรม โดยประเภทงานช่างฝีมือดั้งเดิม ให้ค่าความพึงประสงค์สูงสุด คุณลักษณะด้านประเภทเครื่องประดับ โดยเครื่องประดับประเภทชาร์ม ให้ค่าความพึงประสงค์สูงสุด และคุณลักษณะด้านแนวคิดในการออกแบบ ประเภทไทยร่วมสมัย ให้ค่าความพึงประสงค์สูงสุด
This research aims to study the direction of the development of jewelry souvenirs from cultural capital. The sample group studied 100 foreign visitors, and both qualitative and quantitative methods were used. The process for the qualitative method was primary data collection obtained from in-depth interviews with specialists. It was found that the attributes considered in terms of product development of jewelry souvenirs from cultural capital and based on the type of jewelry, material, type of cultural capital and design concepts. The next part of the process in terms of the quantitative methods included data collection from questionnaires using the conjoint analysis technique. Product concept with the highest preference was brass charm jewelry that was design by traditional craftmanship in Thai contemporary design. From the result, it was also found that the first rank of the importance value is characteristic of traditional craftsmanship type has the highest preference value, in which the characteristic of traditional craftsmanship type had the highest preference value, followed by the materials, in which brass had the highest preference value, and the type of jewelry, in which the characteristic of charm had the highest preference value; and Design Concept, in which Contemporary Thai had the highest preference value.
Description: The 3rd BAs National Conference 2021 "Business Transformation: Social Challenges"
URI: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/19461
Appears in Collections:Bas-Conference paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Bas-Con-Boonsita-S.pdf320.12 kBPDFView/Open


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.