Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/19459
Title: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภค Gen Y ในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: FACTORS INFLUENCING PURCHASE DECISIONS TO USE FOOD ORDER SERVICE APPLICATIONS OF GENERATION Y CONSUMERS IN BANGKOK METROPOLIS AREA
Authors: โชคธิฌา แสงลือ
เพชรรัตน์ จินต์นุพงศ์
Keywords: การตัดสินใจใช้บริการ
แอปพลิเคชัน
ผู้บริโภค Gen Y
การสั่งอาหาร
Purchase Decisions
Generation Y
Food Order Service Applications
Issue Date: 2564
Abstract: บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภค Gen Y ในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้แก่ปัจจัยองค์ประกอบของเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 7C’s ปัจจัยทัศนคติ ปัจจัยความไว้วางใจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และปัจจัยภาพลักษณ์ตราสินค้า ใช้วิธีการดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริโภค Gen Y ที่มีช่วงอายุระหว่าง 23-38 ปี ที่เคยใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันในเขตกรุงเทพมหานคร จานวน 6 เขต จำนวน 420 คน นำไปวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลการวิจัยโดยการใช้สถิติในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (System Equation Model : SEM) ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง สถานภาพโสด มีการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพ พนักงานบริษัทเอกชน / รับจ้าง รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 - 40,000 บาท แอปพลิเคชันสั่งอาหารที่เลือกใช้บริการมากที่สุด คือ Grabfood ใช้บริการ 2 – 3 ครั้ง ต่อเดือน นิยมใช้บริการ วันจันทร์ – ศุกร์ ในช่วงเที่ยง (12:01 - 14:00 น.) ค่าใช้จ่ายในแต่ละครั้ง 200 - 400 บาท เหตุผลในการใช้บริการ คือ ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ผลการทดสอบสมมติฐาน โดยเรียงลำดับความสำคัญ ดังนี้ 1) ภาพลักษณ์ตราสินค้า 2) องค์ประกอบของเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 7C’s 3) ความไว้วางใจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภค Gen Y ในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 4) ทัศนคติของผู้ใช้บริการไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอพพลิเคชั่นของผู้บริโภค Gen Y ในกรุงเทพมหานคร และ 5) การตอบสนองความต้องการมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมหลังการใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภค Gen Y ในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยตัวแปรอิสระทุกตัว สามารถอธิบายระดับการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภค Gen Y ในเขตกรุงเทพมหานคร ได้ร้อยละ 30.4
The purpose of this research is to study the factors influencing purchase decisions to use food order service applications of Generation Y consumers in the Bangkok Metropolis area, including the Elements of Electronic Commerce website factor, an attitude of consumer toward the brand factor, an Electonics Commerce trustworthiness factor, and Brand Image factor. This study is a Quantitative Research which analyzed and concluded by using statistic approach, including Mean, Percentage, Standard Deviation, System Equation Model: SEM. The data collection used in the analysis process is collected from the questionnaire of the representative samples: 240 consumers in generation Y aged 23 to 38 within 6 zones in the Bangkok Metropolis area who experienced ordering food through applications. The result of the study showed that most of the respondents are single female, finished Batchelor Degree, their occupation are private company employees earning 20,001 to 40,000 Baht. Moreover, the most selected Food Delivery Service Application is Grabfood Application, the consumers are ordering food through the service 2 to 3 times per month, the most popular service time period is in the lunch time (12:01 pm to 2:00 pm) during weekdays, they are spending 200 to 400 baht per order, the reason for using the service is to save traveling cost and time. The Hypothesis test results showed that the following factors sorted by consequnce: 1) Brand Image 2) Elements of Electronic Commerce website 3) Electonics Commerce trustworthiness factor are influencing purchase decisions to use food order service applications of Generation Y consumers in the Bangkok Metropolis area with statistical significance at the 0.05 level. On the other hand, 4) Customers’ Attitudes is not showing influencing purchase decisions to use food order service applications of Generation Y consumers in the Bangkok Metropolis area and 5) Problem Recognition influencing Post Purchase Behavior to use food order service applications of Generation Y consumers in the Bangkok Metropolis area with statistical significance at the 0.05 level. All independent variables could explain the level of purchase decisions to use food order service applications of Generation Y consumers in the Bangkok Metropolis area at 30.4 percent.
Description: The 3rd BAs National Conference 2021 "Business Transformation: Social Challenges"
URI: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/19459
Appears in Collections:Bas-Conference paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Bas-Con-Choktisha-S.pdf391.9 kBPDFView/Open


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.