Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/19442
Title: ส่วนประสมทางการตลาดบริการ และพฤติกรรมการเลือกใช้สถานบริบาลผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: SERVICE MARKETING MIX AND NURSING HOME CHOOSING BEHAVIOR IN BANGKOK METROPOLITAN AREA
Authors: ระพีพัฒน์ ช้อนสวัสดิ์
ศุภิณญา ญาณสมบูรณ์
Keywords: Service Marketing Mix
Behaviors of Choosing Service
Nursing Home
ส่วนประสมทางการตลาด
สถานบริบาลผู้สูงอายุ
พฤติกรรมการเลือกใช้บริการ
การตลาดบริการ
Issue Date: 2563
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อทำการศึกษาถึงพฤติกรรมการเลือกใช้บริการสถานบริบาลผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร โดยจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการ และเพื่อศึกษาถึงอิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บริการสถานบริบาลผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้ใช้บริการสถานบริบาลผู้สูงอายุภายในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และ มีสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติวิเคราะห์ค่าที สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และสถิติการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 41–50 ปี สถานภาพสมรสและมีบุตร มีระดับการศึกษาสูงสุดอยู่ในระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้ต่อเดือนอยู่ระหว่าง 45,001 – 60,000 บาท และมีระดับความคิดเห็นต่อส่วนประสมทางการตลาดบริการของสถานบริบาลผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับดีมาก โดยผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ผู้ใช้บริการที่มีสถานภาพสมรส และอาชีพ แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการเลือกใช้บริการสถานบริบาลผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร ด้านค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยต่อเดือน ที่ยอมรับได้ในการใช้บริการสถานบริบาลผู้สูงอายุ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นอกจากนี้ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บริการสถานบริบาลผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร ด้านแนวโน้มในการใช้บริการในอนาคตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และส่วนประสมทางการตลาดบริการ ด้านราคา และด้านบุคลากร มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บริการสถานบริบาลผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร ด้านแนวโน้มการแนะนำ/บอกต่ออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
The objectives of this research are to study Nursing home service choosing behavior and to study the influence of the Service Marketing Mix on Nursing home service choosing behavior in the Bangkok Metropolitan Area. The sample consisted of four hundred consumers using the Nursing home service in the Bangkok Metropolitan Area. The questionnaire was utilized to collect the data and the statistics used for data analysis include percentage, mean, standard deviation, an independent sample t-test, One-way ANOVA and Multiple linear regression. The results of this research showed that most of the consumers were female, aged forty- one to fifty years old, married and have a child, worked as private company employees, had a bachelor degree with an average monthly income of 45,001 to 60,000 baht. The level of consumer opinions toward the Service Marketing Mix were very good. The results of hypothesis testing revealed that consumers with different marital status and occupation had different Nursing home service choosing behavior in the average monthly expenses aspect at 0.05 level of statistical significance. In addition, the Service Marketing Mix in the aspects of product, place and promotion influenced Nursing home service choosing behavior in the aspect of service using trend in the future at 0.05 level of statistical significance. The Service Marketing Mix in the aspects of price and people, also, influenced Nursing home service choosing behavior in the aspect of service suggestion/word-of-mouth trend at 0.05 level of statistical significance.
Description: การประชุมวิชาการระดับชาติในความร่วมมือ 5 สถาบัน ประจาปี 2563 “BUSINESS ACROSS CRISIS”
URI: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/19442
Appears in Collections:Bas-Conference paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Bas-Con-Rapeepat-C.pdf274.86 kBPDFView/Open


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.