Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/19433
Title: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: FACTORS INFLUENCING THE BEHAVIOR OF USING FOOD ORDERING SERVICES VIA SMARTPHONE APPLICATIONS OF CONSUMERS IN BANGKOK
Authors: ธัญลักษณ์ เพชรประดับสุข
กัลยกิตติ์ กีรติอังกูร
Keywords: การสั่งอาหาร
พฤติกรรมการใช้บริการ
สมาร์ทโฟน
แอพพลิเคชั่น
Food ordering service
Behavior of using
Smartphone
Applications
Issue Date: 2563
Abstract: งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านคุณภาพการให้บริการ ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด และปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยี ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร โดยมีกลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการทำวิจัยครั้งนี้ คือผู้บริโภคที่เคยใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จานวน 400 คน ซึ่งใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมากเป็นเพศหญิง อยู่ในเจเนอเรชั่นวาย ส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชนเป็นส่วนมาก มีสถานภาพโสด ส่วนใหญ่มีรายได้ต่อเดือน 15,001 – 30,000 บาท 2. ปัจจัยด้านคุณภาพการให้บริการมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้บริการ พบว่าภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3. ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้บริการภาพรวมอยู่ในระดับมาก 4. ปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยีที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้บริการภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 5. ด้านพฤติกรรมการใช้งานพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอพพลิเคชั่น GRAB มากที่สุด ส่วนมากนิยมสั่งอาหารไทยมากที่สุด และส่วนใหญ่สั่งในช่วงเวลามื้อกลางวันในช่วงเวลา 11.00–13.00 น. โดยมีความถี่ในการใช้บริการในรอบหนึ่งเดือนที่ผ่านเฉลี่ย 7 ครั้ง ใน 1 เดือน สั่งอาหารเฉลี่ยต่อครั้งจำนวน 3 เมนู สั่งมาทานโดยเฉลี่ยสำหรับจำนวนสมาชิก 3 คน โดยเฉลี่ยใช้เงินสูงสุดสั่งอาหารมารับประทานแต่ละครั้ง จำนวน 591.20 บาท และจำนวนเงินเฉลี่ยน้อยที่สุดจานวน 198.17 บาท และผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่จะกลับมาใช้บริการอีกในอนาคตในระดับมากที่สุด จากผลทดสอบสมมติฐานพบว่าปัจจัยคุณภาพการให้บริการ ไม่มีตัวแปรใดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้บริการ ในส่วนของปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) พบว่ามีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้บริการในด้านความถี่การใช้บริการและด้านจำนวนเงินสูงสุดเฉลี่ยในการใช้บริการ ปัจจัยด้านการยอมรับเทคโนโลยีพบว่ามีอิทธิพลต่อพฤติกรรมด้านความถี่ในการใช้บริการ แต่ไม่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมด้านจำนวนเงินสูงสุดเฉลี่ย
This research had the objective to study factors regarding service quality, market mix factor and technology acceptance factor. The research aimed to study the factors influencing service using behavior of ordering via smartphone applications of consumers in Bangkok area. The sample groups applied in this research were 400 consumers who used the food ordering service via applications on smartphones in Bangkok area. Questionnaires were used in collecting data. As for the statistics used in analyzing the data, they were frequency, percentage, means, standard deviation and Multiple Linear Regression. From the research, it was found that 1. Most of questionnaire respondents were female in Generation Y. Most of them had bachelor’s degree and were mostly private company employees. There were more single people than married people. Most of them had income of 15,001-30,000 baht. 2. As for the factor of service quality influencing the service using behavior, it was to be at a high level. 3. As for the market mix factor influencing service using behavior, it was found in the overall to be at a high level. 4. As for the factor of acceptance of technology with technology influencing the service using behavior in the overall picture was at a high level. 5. As for using behavior, it was found that most of respondents used the food ordering service via GRAB the most. Most of them ordered Thai food and most of them ordered lunch between 11.00-13.00 with the service frequency in the last month for 7 times a month and ordered food on average 3 menu each and they ordered for the average of 3 people. On the average, they spent the maximum amount of money each in the amount of 591.20 baht and the minimum amount was 198.17 baht and most of respondents would return to use the service again in the future at the highest level. From the hypothesis, it was found that service quality factor had no variable influencing the service using behavior. As for the market mix factor (7Ps), it was found to have influence on service using behavior regarding frequency of using the service and maximum amount of money in using the service. As for the factor of technology acceptance, it was found to have influence on the behavior in service use frequency but had no influence on behavior regarding the average maximum amount of money.
Description: การประชุมวิชาการระดับชาติในความร่วมมือ 5 สถาบัน ประจำปี 2563 “BUSINESS ACROSS CRISIS”
URI: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/19433
Appears in Collections:Bas-Conference paper

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Bas-Con-Tanyaluck-P.pdf250.38 kBPDFView/Open


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.