Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/19372
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสิริฉัตร ชนะดังth_TH
dc.contributor.authorธิดารัตน์ มังคละth_TH
dc.date.accessioned2022-03-24T05:52:28Z-
dc.date.available2022-03-24T05:52:28Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttps://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/19372-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อเยลลี่เสริมโปรตีนพืช และศึกษาผลของ โปรตีนพืชที่มีต่อคุณสมบัติทางด้านกายภาพและเคมีของเยลลี่เสริมโปรตีนจากพืช โดยทําการศึกษาโปรตีนพืช 4 ชนิด คือ โปรตีนถั่วเหลือง, โปรตีนถั่วลันเตา, โปรตีนถั่วเขียว และโปรตีนมะพร้าว จากการสํารวจผู้บริโภคมี ผู้เข้าร่วมจํานวนทั้งสิ้น 50 คน อายุระหว่าง 20-30 ปี พบว่าผู้บริโภคมากกว่าร้อยละ 80 สนใจในผลิตภัณฑ์ เยลลี่เสริมโปรตีนพืช โดยโปรตีนพืชชนิดที่ต้องการให้นํามาเสริมคุณค่าทางโภชนาการให้แก่เยลลี่ที่สุด คือ โปรตีนมะพร้าว เนื่องจากผู้บริโภคคิดว่าโปรตีนมะพร้าวน่าจะมีกลิ่นรสที่พึงประสงค์มากที่สุด และปราศจาก สารที่ก่อให้การแพ้ เมื่อศึกษาเกี่ยวกับชนิดและปริมาณกรดอะมิโนในโปรตีนพืชแต่ละชนิด พบว่าโปรตีนถั่ว เหลืองมีปริมาณและสัดส่วนของกรดอะมิโนใกล้เคียงกับโปรตีนจากสัตว์มากที่สุด สำหรับกรดอะมิโนที่มี ปริมาณสูงในโปรตีนพืชทุกชนิด คือ กรดกลูตามิก และกรดแอสพาร์ติก ในขณะที่กรดอะมิโนที่มีปริมาณต่ํา ที่สุดในโปรตีนพืชตระกูลถั่วทุกชนิด มักเป็นกรดอะมิโนจําพวกที่มีหมู่ซัลเฟอร์ คือ ซิสเตอีน และเมทไธโอนีน เมื่อพิจารณาถึงคุณสมบัติทางด้านกายภาพและเคมีของโปรตีนพืชพบว่าชนิดของโปรตีนพืชมีผลต่อสีของ ผลิตภัณฑ์เยลลี่ โดยโปรตีนถั่วเขียวที่มีสีเข้มนั้นส่งผลต่อค่าสีของตัวอย่างเยลลี่มากที่สุด สําหรับค่า ความสามารถในการละลายพบว่า โปรตีนถั่วลันเตามีค่าความสามารถในการละลายสูงที่สุด รองลงมาคือ โปรตีนถั่วเหลืองและโปรตีนถั่วเขียว และโปรตีนมะพร้าวค่าความสามารถในการละลายต่่ำที่สุด เมื่อพิจารณา ความสามารถในการเกิดเจลพบว่า โปรตีนถั่วเหลืองมีความสามารถในการเกิดเจลที่แข็งแรง เนื่องมาจากการมี สัดส่วน β-Conglycinin และ glycinin ที่ช่วยในเรื่องการเกิดเจล และจากการทดลองผลิตเยลลี่เสริมโปรตีน พืชในปริมาณร้อยละ 10 พบว่าโปรตีนพืชทั้ง 4 ชนิดสามารถนํามาเป็นวัตถุดิบเพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ ให้แก่ผลิตภัณฑ์เยลลี่ได้ แต่อาจจะส่งผลต่อคุณภาพผลิตภัณฑ์เยลลี่ที่แตกต่างกัน เนื่องจากโปรตีนพืชแต่ละ ชนิดมีคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม เยลลี่เสริมโปรตีนพืชถือเป็นขนมขบเคี้ยวที่ นอกจากจะรับประทานเพื่อความเพลิดเพลินและความอร่อยแล้วสามารถเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการให้แก่ ผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้โปรตีนพืชถือเป็นโปรตีนสะอาด ไม่ก่อให้เกิดโรคภัย มีพฤกษเคมีที่มีประโยชน์และดีต่อ สุขภาพ สามารถย่อยและดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสาขาวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒth_TH
dc.subjectเยลลี่th_TH
dc.subjectโปรตีนth_TH
dc.subjectโปรตีนพืชth_TH
dc.subjectโภชนาการth_TH
dc.titleเยลลี่เสริมโปรตีนพืชth_TH
dc.typeWorking Paperth_TH
Appears in Collections:Ai-Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
AI_Abs_Tidarat_M.pdfAbstract105.61 kBPDFView/Open
AI_Poster_Tidarat_M.pdfPoster910.7 kBPDFView/Open


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.