Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/19341
Title: การศึกษานโยบายที่เหมาะสมเพื่อลดภาระและเพิ่มศักยภาพของกรมคุมประพฤติ จากคดีความผิดฐานขับรถในขณะเมาสุรา
Other Titles: รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการ การศึกษานโยบายที่เหมาะสมเพื่อลดภาระและเพิ่มศักยภาพของกรมคุมประพฤติจากคดีความผิดฐานขับรถในขณะเมาสุรา
Authors: จารุวรรณ ขำเพชร
อดิศร เสมแย้ม
พงษ์ศักดิ์ ขำเพชร
Keywords: การคุมประพฤติ
การดื่มสุรากับอุบัติเหตุทางถนน
เมาแล้วขับ
Issue Date: 2562
Abstract: การศึกษาเรื่อง การศึกษานโยบายที่เหมาะสมเพื่อลดภาระและเพิ่มศักยภาพของกรมคุมประพฤติจากคดี ความผิดฐานขับรถในขณะเมาสุรา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางที่เหมาะสมของกรมคุมประพฤติในการคุม ประพฤติและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้กระทำผิดกรณีดื่มแล้วขับ และเพื่อจัดทำแนวทางการดำเนินการและ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการคุมประพฤติ โดยมีวิธีการศึกษาจากข้อมูลเอกสาร (Documentary research) การเก็บข้อมูลภาคสนาม (Field research) ข้อมูลเอกสารจากวรรณกรรม งานวิจัยที่ เกี่ยวข้อง กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด การดื่มสุราขณะขับรถและกฎหมายการลงโทษที่เกี่ยวข้อง ลักษณะงานของกรมคุมประพฤติ การเก็บข้อมูลภาคสนามโดยลงพื้นที่ในสำนักงานคุมประพฤติกรุงเทพมหานคร 2 สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดปทุมธานี สาขาธัญบุรี และสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดน่าน โดยการสัมภาษณ์ เจ้าหน้าที่ ผู้ถูกคุมประพฤติ อาสาสมัครคุมประพฤติ สำนักงานคุมประพฤติทุกแห่งทำงานตามกฎหมายที่กำหนดเพื่อ ลดภาระกระบวนการยุติธรรมในการนำผู้ต้องหาเข้าสู่เรือนจำ แต่ลักษณะเฉพาะในพื้นที่จังหวัดน่านที่มีแนวทางปฎิบัติ ที่ดี (Best practice) ในการดำเนินการกับผู้ถูกคุมประพฤติเชิงองค์รวม โดยร่วมกับโรงพยาบาลจังหวัดน่าน ตรวจ สุขภาพผู้ถูกคุมประพฤติเพื่อกำกับและรักษาโรคที่จะเกิดจากการดื่มสุราและนำไปสู่อุบัติเหตุเมื่อขับขี่ยานพาหนะ ผลการศึกษา พบว่า กรมคุมประพฤติมีบทบาทในการควบคุม สอดส่องและพินิจผู้กระทำความผิดให้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สร้างความตระหนักและไม่กลับไปกระทำความผิดซ้าอีก ทั้งนี้กรมคุมประพฤติมีภารกิจสำคัญ ในการแสวงหาข้อเท็จจริงก่อนศาลมีคำพิพากษา รอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษ หรือกำหนดเงื่อนไขในการคุม ประพฤติ ควบคุมกำกับให้ผู้ถูกคุมประพฤติที่ถูกศาลสั่งให้คุมประพฤติต้องถือปฎิบัติอย่างเคร่งครัด และภาระกิจใน การแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิด จากกรณีความผิดขับรถขณะเมาสุรานั้นพบว่าสถิติการเกิดอุบัติเหตุของประเทศไทยมี จำนวนสูงมากเป็นอันดับ 2 ของโลก และสถิติประการหนึ่งเกิดจากการขับรถขณะเมาสุรา ข้อเสนอสำหรับกรมคุม ประพฤติเพื่อลดภาระคือการจัดการเชิงระบบโดยปรับเปลี่ยนวิธีคิดไม่ให้มีการจัดการแบบแยกส่วนที่เป็นการลดทอน ตามที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเคยกำหนด ไม่ว่าในเรื่องการบังคับใช้ (Enforcement) การจัดการวิศวกรรมบนท้องถนน (Engineering) การให้การศึกษา (Education) พฤติกรรมผู้ขับขี่ (Road User Approach) โดยพิจารณาร่วมกับการดื่ม สุราแล้วขับของประเทศญี่ปุ่นที่สามารถดำเนินการและลดจำนวนอุบัติเหตุได้และข้อเสนอเชิงนโยบายคือ การปรับแก้ กฎหมายในกระบวนการยุติธรรม การปฎิบัติตามกรอบทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนนที่ประกอบด้วย 5 เสาหลัก ข้อเสนอนโยบายทางสังคมคือการปรับเปลี่ยนกระบวนการคิดโดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายวัยรุ่นที่มีจำนวนอุบัติเหตุสูงสุด การใช้การสื่อสารทางสังคมผ่านกระบวนการการตลาดเพื่อสังคม (social marketing campaign)และการทำงาน ลักษณะภาคีเครือข่าย ปรับรูปแบบเพิ่มบทบาทของอาสาสมัครคุมประพฤติ หรือทำงานเชิงรุกดังโรงพยาบาลน่านที่ เข้าถึงกลุ่มผู้ถูกคุมประพฤติและเหยื่อของผู้ถูกคุมประพฤติจากกรณีเมาแล้วขับ ทั้งนี้ข้อเสนอเชิงนโยบายต่อกรมคุม ประพฤติ คือการติดตั้งระบบเทคโนโลยีติดตามตัว (GPS) การเพิ่มความหลากหลายในการลงโทษทั้งผู้ขายสุรา ผู้ดื่มและ ผู้ขับที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ การจัดทำแคมเปญระดับชาติอย่างต่อเนื่อง และการทำงานเชิงบูรณาการของหน่วยงานต่างๆ เพื่อลดภาระของกรมคุมประพฤติโดยให้กรมเป็นตัวกลาง (counselor) คัดกรองผู้กระทำความผิด และมีกระบวนการ ชุมชนเพื่อสร้างความเข้มแข็งระดับฐานราก
Description: ได้รับทุนสนับสนุนโดย โครงการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน มูลนิธินโยบายถนนปลอดภัย (มนป.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
URI: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/19341
Appears in Collections:Soc-Technical Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Soc-Jaruwan_K_Road.pdf3.45 MBPDFView/Open


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.