Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/15791
Title: การพัฒนาผลิตภัณฑ์กะปิจากพืชให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้สูงอายุ
Other Titles: The development of shrimp paste from plant-based for the elderly
Authors: ปาลิตา พิมพ์สาลี
กุลธิดา แจงเล็ก
Keywords: กะปิถั่วเหลืองหมัก
โซเดียมคลอไรด์
กะปิเคย
Issue Date: 2563
Publisher: สาขาวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรับประทานอาหารของกลุ่มผู้สูงอายุ พัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ถั่ว เหลืองหมักเพื่อนำไปทำผลิตภัณฑ์กะปิเจหรือกะปิจากถั่วเหลืองหมัก สามารถนำไปทดแทนอาหารผลิตภัณฑ์กะปิเคยได้ และศึกษา ปริมาณเกลือหรือโซเดียมคลอไรด์ที่น้อยที่สุดที่ใช้ในการหมักถั่วเหลืองโดยยังคงความยอมรับจากผู้บริโภคได้จากการรวบรวบข้อมูล จากการสำรวจเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพกลุ่มผู้สูงอายุในช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 100 คน พบว่าส่วนใหญ่มักป่วยเป็นโรค ความดันสูง และในมื้ออาหารได้รับปริมาณโซเดียมเฉลี่ยวันละ 2,392 มิลลิกรัม อาหารที่นิยมรับประทานคือน้ำพริก โดยน้ำพริกที่ นิยมรับประทานมากที่สุดคือน้ำพริกกะปิ ซึ่งในน้ำพริกกะปิ 100 กรัม มีปริมาณโซเดียม 2,250 มิลลิกรัม โดยสาเหตุหลักมาจาก กะปิ มีผู้สูงอายุบางส่วนที่มีอาการแพ้อาหารทะเล และกุ้งเคยที่นำมาทำกะปิตามท้องตลาด สามารถย่อยไมโครพลาสติกให้เหลือ เพียง 1 ไมคอน(The Guardian, 2018) ซึ่งสามารถดูดซึมเข้าสู่รางกาย หากมีการสะสมจะก่อให้เกิดการอุดตันในหลอดเลือด รบกวนการทำงานของฮอร์โมนในร่างกาย และก่อให้เกิดโรคมะเร็ง (ศูนย์วิจัยและประเมินความเสี่ยงด้านอาหารปลอดภัย, 2562) หลังจากเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ผู้สูงอายุมีความกังวลเรื่องความสะอาดของอาหาร และสภาพแวดล้อม มีการ ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารมากขึ้น จากการศึกษาพบว่าผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองหมัก นอกจากเป็นแหล่งโปรตีนที่มี คุณภาพคล้ายเนื้อสัตว์ยังมีสารสำคัญกลุ่มไอโซฟลาโวน ช่วยลดอาการร้อนวูบวาบในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ลดระดับไขมัน มี ฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ (MI el at., 2014) และถั่วเหลืองที่ผ่านกระบวนการหมักจะมีลักษณะคล้ายกะปิในแง่ของกลิ่นรส สามารถนำมาใช้ทดแทนกะปิจากเคยในท้องตลาดได้ (สุทธิดา, 2554) โดยปริมาณกลือที่น้อยที่สุดที่ใช้ในกระบวนการหมักถั่วเหลือง และผู้บริโภคยังคงยอมรับ คือ 12% การหมักถั่วเหลืองโดยควบคุมการหมักด้วยเชื้อ Aspergillus sp. หรือ Bacillus sp. ค่าความ เค็มที่ต่ำกว่า และมีรสชาติอูมามิที่มากกว่าการหมักด้วยวิธีดั้งเดิม ระยะเวลาในการหมักไม่มีผลต่อปริมาณโซเดียมแต่ผลของค่า Browning index มีค่ามากขึ้น และความเข้มของกลิ่นเนื่องจากระหว่างกระบวนการแปรรูปมีสารระเหยไพราซีน ก่อให้เกิดกลิ่น เฉพาะในถั่วเน่า และพบมากในกะปิเคย และจากทดลองพัฒนาผลิตภัณฑ5กะปิจากถั่วเหลืองหมักพบว่ามีคุณสมบัติบางประการ
URI: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/15791
Appears in Collections:Ai-Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
AI_Abs_Palita_P.pdfAbstract106.11 kBPDFView/Open
AI-Post-Palita-P.pdfPoster3.09 MBPDFView/Open


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.