Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/15629
Title: การตัดสินใจแฮนด์โอเวอร์แบบแนวตั้งโดยใช้วิธีโครงข่ายประสาทเทียม แบบแพร่ย้อนกลับสำหรับการสื่อสารไร้สายในยุคที่ 4
Other Titles: Vertical Handover Decision Using Back-Propagation Neural Network for 4G Wireless Networks
Advisor : นำคุณ ศรีสนิท
สุนิศา คุณารักษ์
Authors: ชนิดา กิมภา
สิรินดา คาดีวี
Keywords: เครือข่ายไร้สายยุคที่ 4
โครงข่ายประสาทเทียม
การแพร่ย้อนกลับ
แมทแลป
แฮนด์โอเวอร์
4G Wireless Networks
Back-Propagation
MATLAB
Handover
Neural Network
Issue Date: 2556
Publisher: ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Abstract: โครงงานวิศวกรรมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประยุกต์การใช้งานของระบบโครงข่ายประสาทเทียมแบบแพร่ย้อนกลับ โดยนำมาช่วยตัดสินใจในกระบวนการแฮนด์โอเวอร์แบบแนวตั้งของ ระบบการสื่อสารไร้สายในยุคที่ 4 ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่กำลังถูกนำมาใช้ในปัจจุบัน สำหรับ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทั้งในด้านของการสื่อสารโดยใช้เสียง การรับ-ส่งข้อมูล ต่าง ๆ ทั้งภาพนิ่งและวีดีโอ จะต้องสามารถทำได้อย่างรวดเร็วและมีคุณภาพมากขึ้นโดยอาศัย โทรศัพท์เคลื่อนที่เพียงเครื่องเดียวเท่านั้นเพื่อความสะดวกของผู้ใช้ และด้วยความต้องการของผู้ใช้ ที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงส่งผลทำให้การขยายระบบไม่สามารถกระทำได้ทันที ดังนั้นผู้ศึกษาจึงได้มี แนวคิดในการทำโครงงานวิศวกรรมครั้งนี้ขึ้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยการออกแบบระบบการ สื่อสารไร้สายในยุคที่ 4 โดยมีการจำลอง 3 เครือข่ายไร้สาย ได้แก่ Mobile WiMAX, WiFi และ LTE โดยนำข้อมูลความแรงของสัญญาณ ความหนาแน่นของปริมาณทราฟฟิค และต้นทุนค่าใช่จ่ายของ ทั้ง 3 เครือข่าย มาพิจารณาตัดสินใจที่จะทำการแฮนด์โอเวอร์ ซึ่งทำการจำลองโดยใช้โปรแกรม MATLAB แสดงผลประสิทธิภาพในรูปของอัตราการแฮนด์โอเวอร์ และอัตราการเรียกขาดหายของ วิธีที่นำเสนอเปรียบเทียบกับวิธีเทรชโฮลซึ่งเป็นวิธีการแฮนด์โอเวอร์แบบดั้งเดิมโดยจากการทดลอง พบว่าวิธีที่นำเสนอสามารถลดการแฮนโอเวอร์และอัตราการเรียกขาดหายจากแบบเดิมลงได้ ประมาณ 10 เปอร์เซนต์
This engineering project is intended to apply using the Back Propagation Neural Network (BPNN) system that is used the decision process in the vertical handover in Fourth Generation (4G) wireless networks. This 4G of wireless communications describes the heterogeneous wireless environment with different access networks technologies that can support the everincreasing of user demands in high speed data, real and non-real time multimedia services on an anywhere at anytime from any network. So that, the next generation wireless networks must be able to coordinate services between heterogeneous networks through multi-mode mobile terminals. Such heterogeneity poses a challenge to seamless handover since each access network has different operations. In this engineering project, the considered metrics for handoff initiation include the received signal strength, traffic intensity and monetary cost. To evaluate the proposed algorithm, we simulated the results by MATLAB programming. The results indicate that the proposed vertical handover decision algorithm outperforms another approach in reducing the number of vertical handovers and connection dropping about 10 percentages.
URI: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/15629
Appears in Collections:EleEng-Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Eng_Chanida_K.pdf7.87 MBPDFView/Open


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.