Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/10073
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | นริสรา พึ่งโพธิ์สภ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2020-12-10T05:06:23Z | - |
dc.date.available | 2020-12-10T05:06:23Z | - |
dc.date.issued | 2562 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/10073 | - |
dc.description.abstract | นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติมีคุณูปการต่อการพัฒนาประเทศ การมีองค์ความรู้เกี่ยวกับการทำงานวิจัยที่เป็นเลิศสามารถชี้แนวทางเสริมสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย 3 ประการ คือ เพื่อทำความเข้าใจการให้ความหมายของความเป็นเลิศและการทำงานวิจัยที่เป็นเลิศ เพื่อศึกษากระบวนการทำงานวิจัยที่เป็นเลิศ และเพื่อค้นหาเงื่อนไขความสำเร็จของการทำงานวิจัยที่เป็นเลิศจากมุมมองของนักวิจัยที่ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับ นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติสาขาสังคมศาสตร์ที่ได้รับรางวัลระหว่างปี พ.ศ. 2539-2561 จำนวน 7 คน ซึ่งเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่ผู้วิจัยกำหนด ผลการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา พบผลดังนี้ ประการแรก การเป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติสะท้อนจาก 2 คุณลักษณะ คือ คุณลักษณะของบุคคลเป็นความสามารถใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านปัญญา ด้านจิตใจ และด้านทักษะ ส่วนคุณลักษณะของผลงาน เป็นความโดดเด่น 3 ลักษณะ คือ ผลลัพธ์เป็นรูปธรรม นำเสนอสิ่งใหม่ และงานต่อเนื่องโดยมีเครื่องประกันผลงานเป็นรางวัล ในประเด็นการทำงานวิจัยที่เป็นเลิศ พบความหมายใน 3 ลักษณะ คือ ทำให้แตกต่าง ทำแล้วเกิดประโยชน์ และทำอย่างต่อเนื่อง ประการที่สอง กระบวนการทำงานวิจัยที่เป็นเลิศ แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะเริ่มต้นก่อรูป ระยะต่อเติมและดำเนินการ และระยะเผยแพร่และขยายผล กล่าวคือ ระยะเริ่มต้นก่อรูป เป็นช่วงก่อนดำเนินการวิจัยและเป็นจุดเริ่มต้นของการทำวิจัยให้โดดเด่น กิจกรรมที่นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติให้ความสำคัญ ประกอบด้วย 3 กิจกรรมหลัก ได้แก่ ตั้งเป้าหมายชัด ออกแบบงานให้โดดเด่น และเตรียมทีมให้มีประสิทธิภาพ ระยะต่อเติมและดำเนินการ เป็นช่วงระหว่างดำเนินการวิจัย กิจกรรมที่นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติให้ความสำคัญในระยะนี้ ประกอบด้วย 2 กิจกรรมหลัก ได้แก่ บริหารจัดการโครงการได้ และกำกับงานด้วยวินัย ส่วนระยะเผยแพร่และขยายผล เป็นช่วงปลายทางของการทำวิจัยซึ่งเกิดขึ้น เมื่อดำเนินการวิจัยสิ้นสุดลง กิจกรรมที่นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติให้ความสำคัญในระยะนี้ ประกอบด้วย 3 กิจกรรมหลัก ได้แก่ นำผลวิจัยไปใช้ประโยชน์ คิดโจทย์วิจัยเพิ่ม และเริ่มวางแผนวิจัยใหม่ ประการสุดท้าย เงื่อนไขความสำเร็จของการทำงานวิจัยที่เป็นเลิศ แบ่งเป็น 3 เงื่อนไข ได้แก่ เงื่อนไขนำ ประกอบด้วย 5 มูลเหตุ คือ ใช้ความรู้เป็นฐาน ใช้ความรักและความสุขขับเคลื่อนงาน รักในการเรียนรู้ มีเจตคติที่ดีต่องาน มีบุคลิกภาพแบบเปิดกว้าง และยึดมั่นในความเชื่อเชิงวิชาการเงื่อนไขเอื้อ ประกอบด้วย 2 มูลเหตุ คือ ใช้ความคิด และมีความเพียร ส่วนเงื่อนไขเสริม ประกอบด้วย 4 มูลเหตุ คือ แรงส่งจากทีม การสนับสนุนจากคนรอบข้าง การมีตัวแบบให้เรียนรู้ และการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ ข้อค้นพบสามารถเป็นข้อเสนอแนะสำหรับนักวิจัย มหาวิทยาลัย และแหล่งทุน เพื่อการทำวิจัยสู่ความเป็นเลิศ | th_TH |
dc.description.abstract | National award-winning researchers have made valuable contribution towards nationwide development. Knowledge about research excellence can point out the ways to strengthen young researchers. This qualitative study aimed to: a) study the characteristics of Thai national award-winning researchers, and examine the meaning of research excellence; b) explain the process of research excellence; and c) explore the key success factors of research excellence. In-depth interviews were conducted with seven researchers in social sciences, who had won Thai national awards between the years 1996-2018. Data was analyzed by using content analysis. The results revealed that firstly, the key characteristics of research excellence were discernable through cognitive ability, psychological traits, and skill. The meaning of research excellence covered three elements: uniqueness, utility, and continuation of research. Secondly, the process of conducting excellent research comprised of three stages namely, initial stage, operational stage, and diffusion and prolonged stage. The activities of in the initial stage included setting clear goals, designing a unique research, and building effective research teams. The operational stage covered two activities: project management, and regulation with discipline. As for the diffusion and prolonged stage, it comprised of three main activities that were the applicability of the research findings, thinking new research problems, and stating new research designs. Finally, the key success factors contributing to research excellence can be categorized in three groups of factor: 1) the predisposing factors that consisted of knowledge-based passion, spirit of inquiry, positive attitude toward work, open minded personality, and persistence in rigorous academics; 2) the enabling factors comprised of demonstrating various types of thinking, and perseverance; and 3) the reinforcing factors included the collaboration from research team, social support from others, learning from role model, and experiential learning. Based on findings, policy and practical recommendations are proposed to grantors, universities, and researchers. | - |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ | th_TH |
dc.subject | นักวิจัย | th_TH |
dc.subject | วิจัย | th_TH |
dc.subject | ความสำเร็จ | th_TH |
dc.title | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่อง คุณลักษณะของความเป็นเลิศและปัจจัยความสำเร็จของการทำงานวิจัยที่เป็นเลิศของนักวิจัยที่ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
Appears in Collections: | Bsri-Technical Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Narisara_P_R.pdf | 6.46 MB | View/Open |
Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.