DSpace Repository

รูปแบบการส่งเสริมสุขภาวะทางสังคมของพระสังฆาธิการในสังคมไทย

Show simple item record

dc.contributor.author พระครูสิริปัญญานุโยค
dc.contributor.author พระสุธีรัตนบัณฑิต
dc.contributor.author วิวัฒน์ หามนตรี
dc.contributor.author ชลวิทย์ เจียรจิตต์
dc.date.accessioned 2024-01-08T07:15:17Z
dc.date.available 2024-01-08T07:15:17Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JMND/article/view/192348
dc.identifier.uri https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/29732
dc.subject การส่งเสริมสุขภาวะทางสังคม
dc.subject พระสังฆาธิการ
dc.subject Social well-being promotion
dc.subject Buddhist ecclesiastical official monks
dc.title รูปแบบการส่งเสริมสุขภาวะทางสังคมของพระสังฆาธิการในสังคมไทย
dc.title.alternative A MODEL OF SANGHA ADMINISTRATOR’S SOCIAL WELL-BEING PROMOTION IN THAI SOCIETY
dc.type Article
dc.identifier.bibliograpycitation วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. ปีที่ 6 ฉบับที่ 4 (2019): มิถุนายน 2562
dc.description.abstractthai งานวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการส่งเสริมสุขภาวะทางสังคมของพระสังฆาธิการในสังคมไทย 2) เพื่อศึกษารูปแบบและกระบวนการการส่งเสริมสุขภาวะทางสังคมของพระสังฆาธิการในสังคมไทย และ 3) เพื่อเสนอรูปแบบการส่งเสริมและการพัฒนาสุขภาวะทางสังคมของพระสังฆาธิการในสังคมไทย ผลการวิจัยพบว่า การส่งเสริมสุขภาวะทางสังคมของพระสังฆาธิการในสังคมไทย ตามหลักสุขภาวะ 4 พบว่า 1) ด้านกาย มีการส่งเสริมให้ออกกำลังกายทุกวันพุธ จัดกิจกรรมการออกกำลังกายด้วยตาราง 9 ช่อง กายบริหารในลานวัด ลานกีฬา และกิจกรรมตรวจสุขภาพ 2) ด้านจิต มีการส่งเสริมให้นั่งสมาธิ เจริญภาวนาทุกวันพระและวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ส่งเสริมให้จัดกิจกรรมนั่งสวดมนต์ทุกวันตอนเย็น ตลอดถึงการสวดมนต์ข้ามปี และส่งเสริมจิตอาสา เพื่อเป็นพลวัตแรงขับเคลื่อนในการทำงานด้านการส่งเสริมสุขภาวะที่มีความยั่งยืน 3) ด้านปัญญา มีการแบ่งปันสิ่งของและให้ความรู้เพื่อเป็นต้นแบบสังคมแห่งการโอบอ้อมอารีย์ มีน้ำใจ มิตรไมตรี และ 4) ด้านสังคม มีการเสริมสร้างสุขภาวะและการเรียนรู้ตามแนวพระพุทธศาสนา ภายใต้การขับเคลื่อนงานหมู่บ้านรักษาศีล 5 และการสร้างเสริมชุมชนสัมพันธ์ รูปแบบและกระบวนการการส่งเสริมสุขภาวะทางสังคมของพระสังฆาธิการในสังคมไทย พบว่า 1) กระบวนการให้ความรู้ มีการจัดโครงการอบรมคุณธรรม จริยธรรม เพื่อเป็นการพัฒนาจิตใจ 2) กระบวนการมีส่วนร่วมของภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคมในการพัฒนาสุขภาวะให้เป็นเอกภาพ 3) กระบวนการบริหารจัดการ มีการวางแผนการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม สามารถส่งเสริมคุณภาพชีวิตและสุขภาวะให้กับประชาชน และ 4) กระบวนการเชิงจิตวิญญาณ ซึ่งเป็นแนวคิดเกี่ยวกับสุขภาพในกระบวนทัศน์ใหม่ เช่น สุขภาพองค์รวม ที่เน้นการบูรณาการอย่างมีดุลยภาพของส่วนต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกับมิติทางปัญญา 3. รูปแบบการส่งเสริมและการพัฒนาสุขภาวะทางสังคมของพระสังฆาธิการในสังคมไทย พบว่า 1) ด้านกาย มีการส่งเสริมให้ออกกำลังกาย กายบริหารในลานวัด ลานกีฬา จัดตั้งชมรมวิ่ง และจัดกิจกรรมตรวจสุขภาพ 2) ด้านจิต มีการส่งเสริมให้นั่งสมาธิ เจริญจิตตภาวนา 3) ด้านปัญญา มีการแบ่งปันสิ่งของ ให้คำปรึกษาด้านสุขภาวะ และการบริหารจัดการความรู้ ข้อมูลข่าวสาร และ 4) ด้านสังคม มีการจัดกิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพของพระสังฆาธิการ ในการเสริมสร้างสุขภาวะตามแนวพระพุทธศาสนา


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics