DSpace Repository

แนวทางการพัฒนาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล

Show simple item record

dc.contributor.advisor อังสุมาลิน จำนงชอบ
dc.contributor.author กมลรัตน์ ณ นคร
dc.contributor.author กัญญาภัค พูลศรี
dc.contributor.author ณัฐณิชา ศรียี่สุ่น
dc.contributor.author ธัญสุดา ปาณะดิษ
dc.contributor.author วรุณฉาย สว่างวงศ์
dc.contributor.author ศุภกร ชุมพล
dc.contributor.author สันต์ภพ รัชวัตร
dc.date.accessioned 2023-06-02T09:18:59Z
dc.date.available 2023-06-02T09:18:59Z
dc.date.issued 2560
dc.identifier.uri https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/28399
dc.description.abstract The objectives of this research were; to study the potentiality of Bangkok Metropolis for incentive tourist capacity, to study the incentive tourism model in Bangkok to serve the demand of Thai Incentive tourists and to develop a potentiality guideline of Bangkok’s attractions for supporting incentive tourists. The samples were 400 Thai Incentive tourists. The questionnaire was used as a tool and data were analyzed statistically in terms of frequency, percentage, mean and standard deviation. 1. The majority of respondents were female whose age between 20 - 30 years old. They were company employee who graduated bachelor's degree with their income between 10,001-20,000 baht per month. They were traveled to Bangkok more than 5 times, their main destination was the temple of the Emerald Buddha. The obstacles during their travel was the accessibility to the attractions. Type of accommodation was moderate class, popular activity was shopping, and suitable time to travel in Bangkok were October until December. 2. Opinions of respondents about tourism elements were analyzed statistically in terms of mean and standard deviation as following; Attraction (x̅ = 3.91, S.D. = 0.54), Accommodation, (x̅ = 3.71, S.D. = 0.65), Activity (x̅ = 3.68, S.D. = 0.98), Amenity (x̅ = 3.59, S.D. = 0.68), Accessibility (x̅ = 3.41, S.D. = 0.80). The factors of tourism potential could be improve were Activity (x̅ = 3.68, S.D. = 0.87), Accessibility (x̅ = 3.66, S.D. = 0.94), Attraction (x̅ = 3.63, S.D. = 0.74), Amenity (x̅ = 3.50, S.D. = 0.84), and Accommodation (x̅ = 3.48, S.D. = 0.96)
dc.language th
dc.publisher คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
dc.subject การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล
dc.subject แหล่งท่องเที่ยว
dc.subject นักท่องเที่ยว
dc.subject Incentive travel
dc.subject The potential of attraction
dc.subject Incentive tourist
dc.title แนวทางการพัฒนาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานคร เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล
dc.type Working Paper
dc.description.abstractthai การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของกรุงเทพมหานครใน การรองรับนักท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลชาวไทย เพื่อศึกษารูปแบบการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลในกรุงเทพมหานครให้ตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทย และเพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครให้สามารถรองรับนักท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลชาวไทย จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม โดยนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 20 – 30 ปี มีสถานภาพโสด การศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ส่วนใหญ่มีรายได้ 10,001 – 20,000 บาท/เดือน โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะเดินทางมายังกรุงเทพมหานคร จำนวน 5 ครั้งขึ้นไป มีจุดหมายทางการท่องเที่ยวมายังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ปัญหา และอุปสรรคในการเดินทาง คือ มีความไม่สะดวกสบายในการเข้าถึง พักที่พักระดับปานกลาง นิยมทำกิจกรรม คือ การช็อปปิ้ง และช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเดินทางมาท่องเที่ยว คือ เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2. ความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถาม เกี่ยวกับองค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยวทั้ง 5 ด้าน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดังนี้ ด้านแหล่งท่องเที่ยว (x̅ = 3.91, S.D. = 0.54) ด้านที่พัก (x̅ = 3.71, S.D. = 0.65) ด้านกิจกรรม (x̅ = 3.68, S.D. = 0.98) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (x̅ = 3.59, S.D. = 0.68) และด้านความสามารถในการเข้าถึง (x̅ = 3.41, S.D. = 0.80) ความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่ควรปรับปรุงเพื่อเพิ่มศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยว มีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดังนี้ ด้านกิจกรรม (x̅ = 3.68, S.D. = 0.87) ด้านความสามารถในการเข้าถึง (x̅ = 3.66, S.D. = 0.94) ด้านแหล่งท่องเที่ยว (x̅ = 3.63, S.D. = 0.74) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (x̅ = 3.50, S.D. = 0.84) และด้านที่พัก (x̅ = 3.48, S.D. = 0.96)


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account

Statistics