Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/15809
Title: การศึกษาสภาพการใช้และการประเมินสารสนเทศบนสื่อสังคมออนไลน์ ของผู้สูงอายุที่ใช้บริการสวนลุมพินี
Advisor : ศศิพิมล ประพินพงศกร
Authors: กันติยา ทรัพย์มี
ชนิษฎายามล อุตสี
บุญยฤทธิ์ โคตรวงศ์
พรทิพย์ ชวดนันท์
มนัสนันท์ สุวรรณฉิม
สุชัญญาชา ปัญญา
กฤษณะพงศ์ ศรีภัททิยานนท์
อรรณพ สุทธิศิริ
Keywords: ผู้สูงอายุ
การประเมินสารสนเทศ
สื่อสังคมออนไลน์
Issue Date: 2562
Publisher: สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Abstract: ด้วยสภาพการณ์สังคมในปัจจุบันเป็นสังคมแห่งข่าวสาร เป็นยุคที่สื่อสังคมออนไลน์ได้เข้ามามีบทบาท สำคัญในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้คนในสังคม โดยสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านทาง อุปกรณ์ ICT ผู้สูงอายุในสังคมไทยมีการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเล่น Social Network มากขึ้น ใช้สื่อสังคมออนไลน์ ในการบริโภคข้อมูลข่าวสารต่างๆ จนกลายเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินชีวิต ในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุที่ใช้บริการสวนลุมพินี 2) เพื่อศึกษาการประเมิน สารสนเทศบนสื่อสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุที่ใช้บริการสวนลุมพินีโดยการวิจัยครั้งนี้กำหนดการใช้ระเบียบ วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผู้ให้ข้อมูลหลักคือ กลุ่มผู้สูงอายุที่ใช้บริการสวนลุมพินีโดยใช้วิธี คัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่ง โครงสร้าง (Semi-structured Interview) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก (In-depth Interview) จดบันทึกภาคสนามและการบันทึกเทป ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุใช้บริการสื่อสังคมออนไลน์ผ่านทางโทรศัพท์มือถือมากที่สุด โดยเลือกใช้ แอพพลิเคชั่น Line ในการพูดคุยสนทนา รองลงมาคือ Facebook ใช้ในการพูดคุยสนทนาและติดตามข่าวสาร นอกจากนี้ยังใช้ YouTube ในการฟังเพลง ดูหนัง และติดตามข่าวสาร โดยส่วนใหญ่จะใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ ในช่วงเย็น ซึ่งปัญหาที่ผู้สูงอายุพบในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์คือ ความไม่เสถียรของแอพพลิเคชั่น ระบบ เกิดการขัดข้อง พื้นที่การใช้งานเต็ม การเข้าใช้งานฟังก์ชันต่างๆ ไม่สามารถส่งได้โดยในการใช้งานเหล่านี้ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีการระมัดระวังเรื่องความเป็นส่วนตัว ผ่านการตั้งค่าที่ระบบและการคิดก่อนที่จะส่งต่อข้อมูล ในเรื่องของการประเมินสารสนเทศบนสื่อสังคมออนไลน์ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีทักษะในการประเมิน สารสนเทศที่ดีโดยส่วนใหญ่เลือกรับข้อมูลผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์รองลงมาคือเว็บไซต์ของสำนักข่าวต่างๆ และข่าวในโทรทัศน์ตามลำดับ จากนั้นจะมีการเปรียนเทียบข้อมูลนั้นกับข้อมูลที่ค้นหาได้จาก Google TV และ YouTube ตามลำดับ จากนั้นจึงค่อยส่งต่อข้อมูล ซึ่งผู้สูงอายุจะเชื่อข่าวสารที่มีการลงหนังสือพิมพ์และ ข่าวที่ถ่ายทอดผ่านโทรทัศน์เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากเชื่อว่าข่าวเหล่านั้นจะถูกคัดกรองมาแล้ว มีความน่าเชื่อถือ และหากมีความผิดพลาดก็จะมีคนรับผิดชอบ
URI: https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/15809
Appears in Collections:IS-Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
IS_Kantiya_S.pdf
  Restricted Access
3.21 MBPDFView/Open Request a copy


Items in SWU repository are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.